สุขภาพ

10 อาหารบำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

สมองเป็นอวัยวะสำคัญอวัยวะหนึ่ง ที่เราต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ หรือจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำงาน เพราะฉะนั้นการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายเราเจริญเติบโต รวมถึงเข้าไปพัฒนา บำรุงให้สมองของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาดูกันดีกว่าว่า อาหารบำรุงสมอง ของเรามีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงสมอง

10 อาหารบำรุงสมอง ปลาทะเลน้ำลึก
Image by cattalin from Pixabay

ปลาทะเลน้ำลึก

ปลาที่มีไขมันสูง เพราะเป็นแหล่งผลิตกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งนี้ปลาที่มีไขมันสูงมีอยู่มากมาย เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ และปลาซาร์ดีน ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเนื้อปลาที่ดีและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพราะสมองของคนเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์ไขมันที่มีโอเมก้า 3 เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การกินปลาที่มีไขมันสูงจะช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองและช่วยเพิ่มพลังความจำของคุณอีกด้วย

ถั่ว อาหารบำรุงสมอง
Image by Couleur from Pixabay

ถั่ว

ถั่ว เช่น วอลนัตและอัลมอนด์ เป็นส่วนสำคัญสำหรับการเพิ่มพลังความจำของคุณ นอกจากนี้ ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีอยู่ในถั่วเหล่านี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพสมองของคุณด้วย และวิตามินอีที่มีในวอลนัตยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

ขมิ้น อาหารบำรุงสมอง
Image by Steve Buissinne from Pixabay

ขมิ้น

ขมิ้น เป็นเครื่องเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากในขมิ้นมีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่ช่วยในการรักษาความบกพร่องทางสมอง ช่วยในการลดการอักเสบของเซลล์สมอง และช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย

อาหารบำรุงสมอง อะโวคาโด
Image by Juraj Varga from Pixabay

อะโวคาโด

อะโวคาโด เป็นแหล่งผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โพแทสเซียม และวิตามินเค ซึ่งจำเป็นต่อการปรับปรุงและบำรุงรักษาสุขภาพสมองที่ดี รวมถึงช่วยในการเพิ่มความจำและสมาธิของคุณด้วย

อาหารบำรุงสมอง แปะก๋วย
Image by U. Leone from Pixabay

แปะก๋วย

แปะก๋วย เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์ ช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตในสมอง แปะก๊วยช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้มีสมาธิกระตุ้นการพัฒนาความคิดและความจำ

อาหารบำรุงสมอง บร็อคโคลี่
Image by Allan Lau from Pixabay

บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่ มีโคลีนในปริมาณสูงซึ่งสัมพันธ์กับวิตามินบีและวิตามินอื่น ๆ ที่ช่วยในการเพิ่มพลังความจำ ทั้งนี้ในบร๊อคโคลี่ยังมีกลูโคซิโนเลตสูง ซึ่งจะช่วยทำให้ความจำของคุณคมชัดขึ้นอีกด้วย

สุดยอดอาหารบำรุงสมอง ผักโขม
Image by Thilo Becker from Pixabay

ผักโขม

ผักโขม เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะมีธาตุเหล็กและวิตามินเคสูง ถือว่าดีที่สุดสำหรับการทำงานของสมอง โดยวิตามินเคจะช่วยในเรื่องของการปรับปรุงหน่วยความจำและสมาธิของคุณ นอกจากนี้ในผักโขมยังมีวิตามินเอที่มีคุณสมบัติช่วยในการต้านการอักเสบและช่วยในการรักษาสายตาที่ดี

สุดยอดอาหารบำรุงสมอง ผลเบอร์รี่
Image by PublicDomainPictures from Pixabay

ผลเบอร์รี่

ผลเบอร์รี่ ผลไม้เล็ก ๆ เหล่านี้มีสารอาหารสูงและมีไขมันต่ำ ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่ดีที่้สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ และยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและเค ซึ่งช่วยในการเพิ่มพลังความจำของคุณ ทั้งนี้ในผลเบอร์รี่ยังมีฟลาโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบในสมอง และยังช่วยป้องกันความเสี่ยงของการอักเสบในสมองด้วย

อาหารบำรุงสมองวัยรุ่น ธัญพืช
Image by 旭刚 史 from Pixabay

ธัญพืช

ธัญพืช เต็มไปด้วยเส้นใยที่จำเป็นต่อสุขภาพสมอง ช่วยในการลดหรือป้องกันการอักเสบในสมอง ช่วยรักษาความดันโลหิต และยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย การกินธัญพืชเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะในธัญพืชต่างๆ อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและจำเป็นต่อสุขภาพสมองของคุณ

อาหารบำรุงสมองวัยรุ่น ดาร์กช็อคโกแลต
Image by congerdesign from Pixabay

ดาร์กช็อคโกแลต

ดาร์กช็อคโกแลต อุดมไปด้วยฟลาเวนโกโก้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ดียิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

เมนูอาหารบำรุงสมอง

เมนูอาหารบำรุงสมอง น้ำพริกกะปิปลาทูทอด

น้ำพริกกะปิปลาทูทอด

น้ำพริกกะปิปลาทูทอด ผักต้ม หรือไข่ทอดชะอม ปลาทู เหมาะสมที่จะเป็น อาหารบำรุงสมอง ที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 สารตั้งต้นของ DHA และ ARA ที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างเซลล์ประสาทให้แข็งแรง

เมนูอาหารบำรุงสมอง ผัดไทยห่อไข่
Image by pasita wanseng from Pixabay

ผัดไทยห่อไข่

ไข่ มีสารโคลีนที่ช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและความจำ ส่วนเครื่องเคียงอย่าง หัวปลีและกุยช่ายมีวิตามินบีช่วยบำรุงสมอง นอกจากนี้หัวปลีกรอบ ๆ ยังมีสารกาบาที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองเกิดการผ่อนคลาย ไม่เครียด

เมนูอาหารบำรุงสมอง ตับหวาน

ตับหวาน

ในตับมีวิตามินบี 12 เลซิทิน แมงกานีส และสังกะสี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงสมองด้วย สารเหล่านี้จะไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

เมนูอาหารบำรุงสมอง ผัดผักรวมมิตร
Image by Jason Goh from Pixabay

ผัดผักรวมมิตร

ผักใบเขียวอย่างคะน้า กวางตุ้ง ปวยเล้ง บร็อคโคลี่ แม้แต่ฝักเขียว ๆ อย่างถั่วฝักยาว อุดมไปด้วยวิตามิน K โปแตสเซียม แคลเซียม กรดโฟลิก ฯลฯ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่มีผลต่อระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดี

วิตามินบำรุงสมอง
Image by Steve Buissinne from Pixabay

วิตามินบำรุงสมอง

  • B1 ช่วยกระตุ้นการทำงานของประสาท
  • B2 ช่วยสร้างพลังงานภายในเซลล์
  • B6 ช่วยควบคุมอารมณ์
  • B9 ช่วยเรื่องระบบการรับรู้ อารมณ์ และความรู้สึกในสมอง
  • B12 ช่วยเรื่องความจำ
  • C ช่วยสังเคราะห์สารสื่อประสาทและลดอาการสมองเสื่อม
  • Q10 ช่วยเสริมสร้างพลังงาน
  • แม็กนีเซียม ช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย
  • สังกะสี ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยเรื่องความจำ ช่วยควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ช่วยลดภาวะเครียด และช่วยบำรุงสมอง
  • E ช่วยปกป้องเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระอันนำมาสู่สมองเสื่อม และมีส่วนช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
สมอง
Image by lindneranja92 from Pixabay

สมอง

สมอง คือ อวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย

สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์

ส่วนประกอบสมอง 3 ส่วน

สมอง (Brain) บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

สมองส่วนหน้า (Forebrain)

มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้

ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb)

อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ – ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก

ซีรีบรัม (Cerebrum)

มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้

  • Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
  • Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
  • Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
  • Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส

ทาลามัส (Thalamus)

อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด

ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)

ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

สมองส่วนกลาง (Midbrain)

เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

สมองส่วนท้าย (Hindbrain)

พอนส์ (Pons)

อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง

เมดัลลา (Medulla)

เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

ซีรีเบลลัม (Cerebellum)

อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button