คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน มหาวิทยาลัยการแพทย์คุนหมิง สถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มณฑลหยุนหนาน ปล่อยคู่มือป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) / ไวรัสโคโรนา
ความรู้ทั่วไปของโควิด-19
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 คืออะไร ?
เชื้อไวรัสโคโรนา เป็นกลุ่มสายพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงเชื้อไวรัสหลาย ๆ ชนิดพวกมันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้หวัด และอาจจะทำให้เกิดอาการป่วยที่รุ่นแรง จนกระทั่งเสียชีวิตได้ โดยโรคเมอร์ส และโรคซาร์สที่เคยมีการแพร่ระบาดก็มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรนา เช่นเดียวกัน
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นเชื้อไสรัสโคโรนาชนิดใหม่ ซึ่งไม่เคยพบว่ามนุษย์สามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้ เมื่อได้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะทำให้ปอดอักเสบ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อให้กับโรคชนิดนี้ว่า COVID-19
เชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 มีลักษณะพิเศษอย่างไร ?
เชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 จะมีความไวต่อรังสี UV และความร้อน ซึ่งจะถูกกำจัดได้ด้วยความร้อนที่ 56 °C เป็นเวลานาน 30 นาที , ไดเมทิลอีเทอร์ , แอลกอลอ์ทางการแพทย์ที่มีความเข้มข้น 75% , น้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีน , ตัวทำละลายไขมันกรดเปอร์อะซิติกและคลอโรฟอร์ม แต่สารคลอร์เฮกซิดีนจะไม่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อไวรัสได้
ธันวาคม 2562
ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน
12 มกราคม 2563
องค์การอนามัยโลกได้เรียกเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ว่า “2019-nCoV” ซึ่งเป็นชื่อชั่วคราว
11 กุมภาพันธ์ 2563
องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อให้โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อย่างเป็นทางการว่า “COVID-19”
เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างไร ?
การแพร่ระบาดโดยตรง
แพร่ผ่านละอองสารคัดหลั่งในระยะใกล้กับผู้ติดเชื้อ เช่น จาม ไอ หรือ พูดคุย เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้เกิดการติดเชื้อ
การแพร่ระบาดโดยการสัมผัส
ละอองสารคัดหลั่งที่เกาะอยู่ตามพื้นผิววัสดุ เมื่อสัมผัสโดนตัวหรือจับต้องใช้งาน หลังจากนั้นนำไปสัมผัสที่ปาก จมูก หรือดวงตา เป็นต้น จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
การแพร่ระบาดโดยผ่านอากาศ
เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบปิดเป็นเวลานานและมีปริมาณละอองของไวรัสเข้มข้นสูง ก็อาจจะเกิดการแพร่เชื้อได้เช่นกัน เนื่องจากในการแยกเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ในปัสสาวะและอุจจาระจะต้องใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับละอองที่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบการสัมผัส
สัตว์เลี้ยงสามารถแพร่ระบาดโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสัตว์เลี้ยงจะสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด-19 ได้ หลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงแล้วให้ใช้สบู่และน้ำเปล่าล้างมือ สามารถช่วยลดแบคทีเรียทั่วไปที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงได้ เช่น เอสเชอริเชีย โคไล และเชื้อซาลโมเนลลา เป็นต้น
ทำไมต้องกักตัวดูอาการเป็นเวลา 14 วัน
เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคโควิด-19 จะอยู๋ที่ประมาณ 1-14 วัน โดยส่วนมากจะอยู่ในช่วง 3-7 วัน หากพ้น 14 วันไปแล้วยังไม่มีอาการเจ็บป่วย ในเบื้องต้นจะวินิจฉัยว่าไม่มีการติดเชื้อ
การควบคุมทางการแพทย์อย่างเข้มงวด เป็นหนึ่งในขั้นตอนความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นวิธีการปฏิบัติทั่วไปที่ใช้ในประชาคมโลก
เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์
หากมีไข้ (อุณหภูมิใต้รักแร้ > 37.3 °C) ไม่มีแรง ไอแห้ง อาการเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณได้รับเชื้อ แต่หากมีอาการเหล่านี้ปรากฎขึ้น จะต้องรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉันในสถาบันการแพทย์โดยทันที
- ก่อนหน้านี้จะแสดงอาการป่วย 14 วันมีประวัติการเดินทางท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในบริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค
- ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน ได้มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 (ได้รับการยืนยันจากการตรวจสอบกรดนิวคลีอิกที่ให้ผลเป็นบวก)
- ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากแหล่งแพร่ระบาดของโรค
- การรวมกลุ่มชุมนุม (ภายในระยะเวลา 14 วันได้ไปหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่พบผู้ป่วยมากกว่า 2 คนขึ้นไปที่มีไช้และโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ที่บ้าน สำนักงาน ห้องเรียน เป็นต้น)
สงสัยว่าตัวเองหรือคนรอบตัวติดเชื้อโควิด-19 ควรทำยังไง ?
หากสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบตัวติดเชื้อโรคโควิด-19 ควรจะรีบแจ้งคนในครอบครัวและรักษาระยะห่าง สามใส่หน้ากากอนามัยและให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน การชุมนุมหรือท่องเที่ยว ใส่หน้ากากอนามัยแม้จะอยู่ในบ้าน ให้อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทและมีการฆ่าเชื้อโรค ไม่สัมผัสกับคนในครอบครัวและจะต้องไม่อยู่ใกล้กัน (น้อยกว่า 1 เมตร)
ข้อควรระวังเมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
เมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง จะต้องแจ้งข้อมูลที่ละเอียดและเป็นความจริงแก่อพทย์ผู็ทำการตรวจอาการ บอกเล่าเรื่องราวและสิ่งที่ได้เจอหรือสัมผัสมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่าเคยมีการเดินทางหรือพักอาศัยในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อหรือไม่ ได้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือไม่ หรือสัมผัสกับสัตว์หรือไม่ เป็นต้น
พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานบริการสาธารณะร่วมกับผู้อื่น เช่น โดยสารรถไฟใต้ดิน รถประจำทางสาธารณะ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่แออัด ผู้คนพลุกพล่าน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้งอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันจนเองและผู้อื่น
โควิด-19 รักษาได้ไหม ?
ปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 สามารถรักษาได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่พบยาที่มีผลในการต้านไวรัสโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสำหรับวิธีการรักษาคนป่วย ที่สำคัญคือใช้วิธีการรักษาตามอาการ ในปัจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้พยายามเร่งทำการค้นหาและวิจัยยาที่มีผลต่อการรักษาโดยเฉพาะ แต่สำหรับตัวไวรัสเอง จะต้องอาศัยความแข็งแรงของร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดไวรัสเหล่านั้นให้หมดไป
เนื่องจากโรคโควิด-19 มีลักษณะอาการที่รุนแรง ดังนั้นเมื่อติดเชื้อโรคโควิด-19 ควรรีบทำการพบแพทย์โดยทันที และจะต้องเชื้อฟังคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้ความร่วมมือในการรักษา
มีวัคซีนรักษาโควิด-19 หรือไม่ ?
ยังไม่มีในขณะนี้ โรคชนิดใหม่จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนค่อนข้างนาน ปัจจุบันนักวิจัยในประเทจีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังแข่งกับเวลาในการพัฒนายาและวัคซีนในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19
ใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
การสวมใส่หน้ากากอนามัยและการล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายแต่ก่อนอื่นจำเป็นจะต้อง แน่ใจได้ว่ามีการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานและมีวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถป้องกันตนเองได้
อาการโควิด-19
หากคุณติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการอย่างไร ?
ร่างกายของเราไม่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ได้หากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย ไม่ชอบการล้างมือ ภูมิคุ้มกันลดลง พวกเราก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อเมื่อเริ่มป่วย พวกเราก็จะมีอาการ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ หายใจลำบาก และอาจจะมีอาการซึม รู้สึกทั่วทั้งร่างกายอ่อนแรง หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะมีอาการป่วยหนัก จนต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดอาการป่วยได้มากมายหากป่วยหนักจะทำให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเสียชีวิตได้
เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะเป็นอย่างไร ?
ผู้ป่วยโควิด-19 จะมีขั้นตอนการแสดงอาการแตกต่างกันออกไป เริ่มแรกอาจจะมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ไอ รู้สึกร่างกายไม่มีแรง และจะค่อย ๆ เกิดอาการหายใจล้มเหลว โดยทั่วไปไวรัสชนิดนี้จะมีระยะฟักตัวในร่างกายประมาณ 7 วัน และบางทีอาจจะมีระยะฟักตัวถึง 14 วัน โดนประมาณ พวกคุณรู้หรือไม่ในช่วงระยะฟักตัวพวกมันทำอะไรกันบ้าง ถูกต้องพวกมันได้มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในร่างกายของคุณ เร็วจนกระทั่งความแข็งแรงในร่างกายของคุณกำจัดมันไม่ทันเลยทีเดียว เพียงแค่เข้าสู่ร่างกายของคุณ คุณก็จะกลายเป็น “เครื่องถ่ายเอกสาร” ให้กับพวกมัน ช่วยเหลือพวกมันในการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
เมื่อต้องไปโรงบาลป้องกันตนเองอย่างไร ?
หากรู้สึกไม่สบาย จะต้องไปพบแพทย์ทันที ในขั้นตอนการตรวจจะต้องไม่ไปสัมผัสกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์โดยไม่จำเป็น จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ตลอดกระบวนการตรวจ ให้ความร่วมมือกับแพทย์และพยาบาล หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น หลักจากลับจากการตรวจ รักษาจะต้องใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างมือทันที
โควิด-19 / ไข้หวัดทั่วไป / ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร ?
ไข้หวัดทั่วไป
จะเกิดจากร่างกายของเราสัมผัสความเย็น และเหนื่อยล้า เป็นต้น ซึ่งอาการ ที่พบโดยทั่วไปคือ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม และส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ ปวดหัว ปวดข้อหรือไม่ สบายตัวที่ชัดเจน ความแข็งแรงและความอยากอาหารจะไม่ได้รับผลกระทบ ผู้ที่เป็นหวัด ระบบทางเดินหายใจส่วนบนจะได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก แต่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะไม่ ได้รับผลกระทบเท่าใดนัก และโดยทั่วไปไม่มีผลรุนแรงถึงชีวิต
ไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไม่เพียงแต่สร้าง ปัญหาให้กับระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่ยังทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนล่าง นั่นคือปอดเอกเสบนั้นเอง จะมีการแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการค่อนข้างเร็ว และรุนแรง มีผลทั่วทั้งร่างกาย มีไข้ และภายในระยะเวลา 1-2 วัน จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงถึง 39 ℃ หรือมากกวานั้น โดยจะมีอาการ ที่แสดงออกชัดเจน เช่น ปวดหัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น ไข้หวัด ใหญ่จะมีผลต่อผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19
ในช่วงแรกจะไม่มีอาการป่วย จะต้องทำการตรวจสอบจากทางเดินหายใจจึงจะพบไวรัส ในตอนที่อาการป่วยยังไม่รุนแรงจะแสดงอาการไข้อ่อน ๆ ไอ หนาว สั่นและรู้สึกไม่สบายตัว หากมีอาการหนัก ก่อนหน้า 3-5 วันจะมีอาการตัวร้อน มีไข้ ไอ และ จะค่อย ๆ หมดแรง หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์อาการป่วยจะเริ่มรุนแรงขึ้น ปอดของผู้ป่วยจะถูกยึดครองโดยไวรัส และพัฒนากลายเป็นปวดบวม จนกระทั่งกลายเป็นปอดอักเสบอย่างรุนแรง
หากสงสัยว่าติดโควิด-19 ควรทำอย่างไร ?
หากสงสัยวาตนเองติดเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยทางการ แพทย์และให้รีบไปโรงพยาบาลที่อยูใกล้ที่สุดเพื่อทำการตรวจอาการโดยทันที ในขณะทำการ ตรวจให้เล่ารายละเอียดการเดินทางและการสัมผัสกับผู้คนก่อนหน้าให้แพทย์รับทราบ ใน ขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือบ่อย ๆ จะต้องเปิดหน้าต่างทุกวัน เพื่อให้อากาศถ่ายเท หากสงสัยว่าเพื่อนของคุณติดเชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย ทางการแพทย์ รักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้หรือการสัมผัส แนะนำให้เพื่อนเข้ารับการตรวจอาการโดยทันที หากมีเพื่อนหรือญาติถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อของโรคโควิด-19 ควรส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเฉพาะด้านเพื่อทำการรักษา และให้ทำการฆ่าเชื้อในบริเวณหรือสิ่งของ ที่เขาเคยสัมผัสก่อนหน้า
โควิด-19 อันตรายกับใคร ?
ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทั้งนั้น แต่คนที่สุขภาพดี มีภูมิต้านทานแข็งแรง พวกเขามักจะออกกำลังกายสม่ำเสมอ โอกาสที่จะถูกแพร่เชื้ออาจจะคอนข้าง น้อยแต่คนที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่น คนแก่และเด็กที่มีความต้านทาน ต่ำ ตลอดจนคนที่มักจะป่วยง่าย จะมีโอกาสได้รับการแพร่เชื้อค่อนข้างสูง อาการป่วยกจะค่อนข้างหนัก นอกจากนี้ยังมีแพทย์และพยาบาลที่อยู่แนวหน้า ที่สัมผัสผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ก็มีโอกาสได้รับการแพร่เชื้อเช่นกัน ดังนั้น ทุกคนจะต้องส่วมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปยังสถานที่ที่มีผู้คนเป็นจำนวนมาก
การป้องกันโควิด-19
การป้องกันตนเองเมื่ออยู่บ้าน
- ล้างมือบ่อย ๆ จะต้องล้างมือให้สะอาดโดยทันที หลังจากกลับจากข้างนอกถึงบ้าน , ก่อน และหลังรับประทานอาหาร , หลังจากไอหรือจาม , หลังจากเข้าห้องน้ำ , หลังจากสัมผัสกับสัตว์และจัดการกับอุจจาระ
- เปิดให้อากาศถ่ายเทบ่อย ๆ เปิดหน้าต่างภายในห้องทุกวัน เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศอยู่เสมอ
- ฆ่าเชื้อบ่อย ๆ โต๊ะเก้าอี้ในบ้าน ม้านั่ง เป็นต้น จะต้องทำความสะอาดทุกวันและมีการฆ่าเชื้อเป็นประจำ หากมีแขกมาบ้านจะต้องรีบทำการฆ่าเชื้อสิ่งของและวัสดุโดยทันที
- มีมารยาทในการจามและไอ กรุณาใช้กระดาษทิชชู่หรือข้อศอกปิดปากและจมูก หรือ สวมหน้ากากอนามัย ขณะไอหรือจาม เช่นนี้แล้วไวรัสก็จะไม่สามารถแพร่กระจายออกมาได้ ไม่ว่าคุณจะป่วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อจามจะต้องปิดปากและจมูกให้เรียบร้อย!
- ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมที่บ้านโดยไม่ส่งผลกระ ทบต่อเพื่อนบ้านของคุณ
- ตรวจเช็คสุขภาพประจำวันของคุณและครอบครัว เมื่อพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวมีอาการป่วยดังนี้ ควรจะทำการกักตัว และไปพบแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือโดยทันที อาการที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่าติดเชื้อจะรวมถึงเป็น ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เบื่ออาหาร ไม่มีแรง ซึม คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาแดง ปวดตามข้อหรือปวดกล้ามเนื้อบริเวณเอวและหลัง เป็นต้น
- เมื่อตนเองหรือคนในครอบครัวออกไปข้างนอก จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย สวมใส่หน้ากากอนามัย ละอองเชื้อโรคก็จะถูกปิดกั้นโดยหน้ากากอนามัย ไม่สามารถปลิวเข้าปากและจมูกของผู้คนได้
- หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตนเองให้มากขึ้น
การป้องกันตนเองในที่สาธารณะ
- เมื่อออกไปภายนอก จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสาเหตุของการป่วย หลังกลับจากภายนอกทุกครั้งจะต้องทำการล้างมือโดยทันที หากมีอาการไข้หรืออาการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอยางยิ่งการมีไข้อย่างต่อเนื่อง จะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการโดยทันที
- พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนแออัด เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต , ร้านขายของ , สวนสนุก , ร้านอินเตอร์เน็ต , ห้องเล่นเกม , ร้านอาหาร เป็นต้น และไม่เข้าร่วมชุมนุมเป็นกลุ่ม
- ไม่บ้วนน้ำลายหรือเสมหะลงพื้น โดยสามารถบ้วนเสมหะหรือน้ำลายลงบนกระดาษทิชชู่ และเมื่อสะดวกให้นำไปทิ้งลงในถังขยะที่มิดชิด ในขณะที่หากต้องการไอหรือจาม จะต้องใช้กระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกให้ เรียบร้อยเสียก่อน และนำกระดาษที่ใช้แล้วทิ้งลงในถัง “ขยะติดเชื้อ” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส หลังจากไอหรือจามแล้วจะต้องทำการล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกนไม่ให้มือสัมผัสกับดวงตา จมูกหรือปาก
- ฆ่าเชื้อโดยทันที เมื่อสัมผัสกับสิ่งของในสถานที่สาธารณะ เช่น หนังสือ เก้าอี้ โต๊ะ เป็ นต้น ให้ทำการล้างมือโดย ทันทีหรือใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในการฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดมือ
- เมื่อมีการพบปะกับผู้อื่นในสถานที่สาธารณะ จะต้องรักษาระยะห่างระหว่างผู้คนอย่างน้อย 1 เมตร (ประมาณ 1 ช่วงความยาวแขน) เป็นต้นไป
- พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารภายนอกบ้าน
เมื่อใช้บริการรถโดยสารควรป้องกันตนเองอย่างไร
โดยสารรถประจำทาง
- เมื่อโดยสารรถประจำทาง จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย พยายามเลือกใช้งาน หน้ากากอนามัยที่ใช้ ทางการแพทย์แบบ ครั้งเดียวทิ้ง
- เมื่อไอหรือ จามจะต้องพยายาม หันไปด้านที่ไม่มีคน ใช้ด้านในของศอก หรือกระดาษทิชชู่ ปิดปากและจมูกก่อนไอหรือจาม
- เมื่อพบผู้ป่วยไข้หวัดบนรถ โดยสารประจำทาง พยายามอย่าสัมผัส หรือเข้าใกล้ สามารถ เปิดหน้าต่างรถโดยสารเพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศ
- หลังจากลงจากรถให้ทำการล้าง มือด้วยสบู่หรือน้ำยา ล้างมือโดยทันที หรือใช้เจลล้างมือทาให้ทั่วมือ
เมื่อโดยสารรถยนต์ส่วนตัว
- ในสถานการณ์ทั่วไป รถยนต์ส่วนตัวไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดการในการฆ่าเชื้อโรค พยายามให้ มีการถ่ายเทอากาศบ่อย ๆ ก็เพียงพอแล้ว
- หลังจากที่ผู้ขับกลับมาจากสถานที่สาธารณะภายนอก แนะนำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อใน การกำจัดเชื้อโรคที่อาจจะติดมาบนมือเสียก่อน และหากจำเป็นก็สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ที่มีส่วนผสมของคลอรีนหรือแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 75% เป็นต้น เช็ดถูบริเวณพื้นผิวของ สิ่งของภายในรถ
- หากมีผู้ป่วยที่ต้องสงสัย (มีไข้, ไอ, เจ็บคอ เป็นต้น) โดยสารมาบนรถ ควรรักษาระยะ ห่างอยางเหมาะสม อย่าเปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถ ให้เปิดหน้าต่างในระดับที่เหมาะสม เพื่อระบายอากาศ เมื่อผู้ป่วยต้องสงสัยลงจากรถให้รีบเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และให้ทำการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวของสิ่งของที่ผู้ป่วยต้องสงสัยสัมผัสโดยทันที หากเป็นผู้ป่วยที่ได้ รับการวินิจฉัยวาเป็นผู้ติดเชื้อโดยสารมาบนรถ จะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคโดยทันทีและแจ้งให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นมาดำเนินการจัดการในขั้นตอนต่อไป
โภชนาการทางวิทยาศาสตร ์
บริโภคอาหารอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19
บริโภคอาหารที่อุดมด้วยธัญพืชเป็นหลัก
จะต้องบริโภคอาหารประเภทธัญพืชเป็นประจำ โดยในแต่ละวันจะต้องมีปริมาณ ไม่น้อยกว่า 250-400 กรัม รวมถึงข้าว , ข้าวสาลี , ข้าวโพด , บักวีต , มันเทศ , มันฝรั่ง เป็นต้น
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสมสม่ำเสมอเพื่อรักษาน้ำหนักตัว
ออกกำลังกายอยางเหมาะสมเป็นประจำ ไม่ควรนั่งเป็นระยะเวลานานลุกขยับร่างกายทุก ๆ ชั่วโมง
บริโภคผักผลไม้ , ผลิตภัณฑ์จากนม , ถั่วเหลือง
บริโภคผักและผลไม้สด โดยทุก ๆ วันจะต้องบริโภคให้ได้มากกวา 5 ประเภทขึ้นไป โดยปริมาณที่เหมาะสมจะต้องให้ได้มากกวา 500 กรัมขึ้นไป ซึ่งครึ่งหนึ่งจะต้องเป็น ผักผลไม้ที่มีสีเข้ม นอกจากนี้จะต้องดื่มนมทุกวัน และทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเพิ่มมากขึ้น
บริโภคเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ เนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสม
บริโภคโปรตีนอย่างเพียงพอ ซึ่งรวมถึงเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา กุ้ง ไข่ เป็นต้น โดยในแต่ละวันควรบริโภคให้ได้ประมาณ 150-200 กรัม ควรบริโภคไข่ไก่ทุก ๆ วัน วันละ 1 ฟอง หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมัน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรมควันหรือการหมัก เป็นต้น
ลดการบริโภคเค็ม มัน ควบคุมน้ำตาลและจำกัดการดื่มสุรา
อาหารเบา ๆ ที่รสชาติไม่จัดจ้าน โดยในแต่ละวันบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือใน ปริมาณไม่เกิน 6 กรัม เด็กและทารกไม่ควรดื่มสุรา ควบคุมการบริโภคน้ำตาลไม่ให้เกินวัน ละ 50 กรัม หรือดีที่สุดคือบริโภคให้ต่ำกวา 25 กรัม ดื่มน้ำอย่างเพียงพอต่อร่างกาย โดยแต่ละวันควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว (1500-1700 มิลลิลิตร) และควรเป็นน้ำต้มสุก
ไม่ใช้ทรัพยากรอาหารอย่างสิ้นเปลือง
รู้คุณค่าของอาหาร ควรเตรียมอาหารตามปริมาณการบริโภคที่แท้จริง เพื่อไม่ให้เหลือทิ้ง โดยเปล่าประโยชน์ เลือกอาหารที่สดสะอาดถูกสุขอนามัยและใช้วิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสม แยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว นำอาหารที่สุกแล้วมาผ่านความร้อนอีกครั้ง
เรียนรู้วิธีการอ่านฉลากอาหาร และเลือกผลิตภัณฑ์อาหารอย่างเหมาะสม พยายาม รับประทานอาหารที่บ้าน เพลิดเพลินกับอาหารและการกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงาม สร้างอารยธรรมอาหารในรูปแบบใหม่
จัดอัตราส่วนและเวลาของอาหารทั้งสามมื้อ
- พลังงานและสารอาหารที่ได้รับ สำหรับอาหาร มื้อเช้า กลางวัน และเย็น ควรเป็ นไปดังนี้ คือ 25%- 30% , 35%-40% , 30%-35% ของในแต่ละวัน
- อาหารเช้าที่เหมาะสมควรรับประทานใน เวลา 6:30-8:30 , อาหารกลางวันที่เหมาะสมควรรับ ประทานในเวลา 11:30-13:30 และอาหารเย็นที่เหมาะ สมควรรับประทานในเวลา 17:30-19:30
เพิ่มภูมิคู้มกันในการป้องกัน COVID-19
เพิ่มการดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระ โดยให้รับประทานผลไม้ตระกูลส้มจำนวน 2 ลูกต่อวัน เพื่อ เพิ่มวิตามิน C ให้แก่ร่างกาย รับประทานมะเขือเทศตลอดจนผลไม้ที่มีสีแดงหรือสีเข้มเพื่อเพิ่มวิตามิน B ต่าง ๆ ให้กับร่างกาย
เสริมวิตามิน A ให้กับร่างกายอยางเหมาะสม โดยการรับประทานเครื่องในสัตว์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ละครั้งประมาณ 30-50 กรัม โดยประมาณ ซึ่งจะช่วยให้เยื่อบุทาง เดินหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากไวรัสได้ อย่างง่ายดาย
ไม่ควรออกกำลังกายอยางหนักหน่วงในช่วงเวลานี้ เนื่องจากการออกกำลังกาย หนักจะไประงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (ระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน) ในช่วงระยะเวลานี้สามารถออกกำลังกายเบา ๆ หรือออก กำลังกายที่ใช้กำลังปานกลางได้
รับประทานคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ เช่น ข้าว และอาหารประเภทแป้งอื่น ๆ เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับเซลล์ของภูมิคุ้มกัน
ในแต่ละวันพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าทำให้ตนเองตกอยูภายใต้สภาวการณ์ที่เครียด หรือวิตกกงวล
รับมือกับความเครียดภายใต้การระบาดของโรค
ติดต่ออย่างสม่ำเสมอ
ภายใต้สภาวะวิกฤติเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะรู้สึกเสียใจ กดดัน สับสน กลัวหรือ โกรธ การสนทนาพูดคุยกบบุคคลที่คุณเชื่อมั่นจะสามารถลดอาการเหล่านี้ลงได้ ให้ติดต่อกับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวของคุณอย่างสม่ำเสมอ
รักษาแนวทางสุขภาพที่แข็งแรง
หากคุณจำเป็นจะต้องอยู่ที่บ้านจะต้องรักษาแนวทางสุขภาพที่แข็งแรง รวมถึงการบริโภคอย่างเหมาะสม พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายและติดต่อสัมพันธ์ทางสังคมกับคนที่คุณรู้จัก ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือโทรศัพท์
ขอความช่วยเหลือ
ไม่ควรคลายอารมณ์ด้วยการสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือรับประทานยา หากคุณรู้สึกไม่สบายใจ สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หรือที่ปรึกษา ทางด้านสุขภาพได้ หากคุณต้องการ ให้จัดทำแผนการ ว่าต้องการค้นหาบุคคลใดและจะค้นหาข้อมูลทางด้านสุขภาพกายและใจได้อยางไร เพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที อยางมีประสิทธิภาพ
ทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริง
รวบรวมข้อมูลที่จะสามารถช่วยเหลือคุณในยามเกิดวิกฤติได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้รับการป้ องกันและช่วยเหลือได้ทันท่วงที ค้นหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ องค์การอนามัยโลก หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ เป็นต้น
บรรเทาความวิตกกังวล
ลดหรือหลีกเลี่ยงการชมหรือรับฟังข่าวสาร รายงาน ที่จะสร้างความวิตกกังวลหรือ ไม่สบายใจให้กับคุณหรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้
ควบคุมอารมณ์
ใช้ทักษะที่คุณเคยมี เพื่อช่วยเหลือในการจัดการความทุกข์ยากของคุณ และใช้ ทักษะเหล่านี้ช่วยเหลือคุณในการควบคุมอารมณ์ช่วงระยะเวลาการระบาดของโรค
ตอบข้อสงสัยโดยผู้เชี่ยวชาญ
ไม่บริโภคสัตว์ป่าก็จะไม่ติดเชื้อใช่หรือไม่
ในปัจจุบันเชื้อไวรัสโคโรนา ได้มีการแพร่เชื้อเกินขอบเขต ธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่มนุษย์และสัตว์ป่าเท่านั้น แต่มีการแพร่ เชื้อระหว่างคนสู่คน โดยการหายใจและการสัมผัสใกล้ชิดผ่านละออง สารคัดหลังเป็นหลัก
หน้ากากอนามัย
นอกจากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้ง , หน้ากาก N95 หรือ KN95 แล้ว หน้ากากอื่น ๆ (หน้ากากธรรมดาทั่วไป , หน้ากากผ้า เป็นต้น) จะช่วยป้องกันไวรัสได้หรือไม่? การสวมใส่หน้ากากหลาย ชั้นจะสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้หรือไม่? หน้ากาก ยิ่งหนา ยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสูงใช่หรือไม่
ก่อนอื่นต้องบอกว่า หน้ากากอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจาก หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ่ ที่ใช้แล้วทิ้ง, หน้ากาก N95 และ KN95 แล้ว จะให้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับ 3 ชนิดที่กล่าวมา สำหรับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้งนั้น หากเป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและ มีการสวมใส่อยางถูกวิธี ก็สามารถป้องกันไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว ต่อให้ใส่ หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นอีกหลายชั้นก็จะไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีก แต่กลับจะ ทำให้หายใจลำบากขึ้น
หากรอบตัวไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส สามารถสวมใส่หน้ากากอนามัยได้หรือไม่
ไม่ว่ารอบตัวจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสหรือไม่ เมื่อออกไป ข้างนอกแนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ในปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 กำลังแพร่ระบาด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจจะปรากฏขึ้นทั่วทุกมุมโลก และผู้ป่วยบางคนก็อาจจะยังไม่แสดงอาการ ด้วยเหตุนี้ทุกคนจะมีโอกาสเสี่ยงในการติดไวรัสจากการสัมผัสกบผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว
ดื่มสุราและสูบบุหรี่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
ในขณะสูบบุหรี่ มือจะมีการสัมผัสโดนจมูกไปมา และไวรัส อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้จากการสัมผัสเช่นนี้ นอกจากนี้ในขณะสูบ บุหรี่จะไม่สามารถสวมใส่หน้ากากอนามัยได้ และด้วยเหตุนี้ยิ่ง จะเป็ นการลดการป้องกันให้กับตนเอง ส่วนแอลกอฮอล์ที่มีความ เข้มข้น 75% นั้นสามารถฆ่าไวรัสได้ แต่แอลกอฮอล์สำหรับฆ่า เชื้อไวรัสและแอลกอฮอล์สำหรับดื่มนั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกน หากนำแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูงสัมผัสกับไวรัสโดยตรงอาจจะ มีประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัส แต่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ลงไปใน ท้อง ความเข้มข้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว และยากที่จะสามารถกำจัด ไวรัสได้ นอกจากนี้เมื่อดื่มสุราในปริ มาณมาก ๆ จะทำให้ความ ต้านทานในร่างกายลดลง ยิ่งทำให้ง่ายต่อการรับเชื้อ
รับประทานกระเทียม ดื่มชา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถ ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
สารสกัดจากกระเทียมมีสรรพคุณในการกำจัดแบคทีเรียได้ แต่ตัวกระเทียมเองไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัส ดังนั้นจึงไม่มี ประโยชน์ที่จะรับประทานโดยตรงหรือดื่มน้ำคั้นจากกระเทียม ใน ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าการดื่มชาจะช่วยป้องกนการติดเชื้อโรค โควิด-19 ได้
ดื่มน้ำที่มีอุณหภูมิ 60 ℃ หรือต้มน้ำร้อนก่อนอาบจะ สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
ภายใต้สถานการณ์ทั่วไป การต้มน้ำอุณหภูมิ 56 ℃ นาน 30 นาที จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อยางมีประสิทธิภาพ แต้เป้าหมายของ ไวรัสคือการทำลายระบบทางเดินหายใจ และน้ำร้อนจัดเข้าสู่ทางเดิน อาหาร ดื่มนน้ำร้อนหรืออาบน้ำร้อนไม่เพียงแต่ฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่จะ ทำให้โดนน้ำร้อนลวกและเกิดอาการบาดเจ็บได้
ในช่วงระยะเวลาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เราไม่สามารถรับประทานสัตว์ปี กและอาหาร ทะเลได้ใช่หรือไม่
สาเหตุหลักของไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้ เกิดจากการค้าสัตว์ ป่าที่ผิดกฎหมาย และในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสัตว์ที่เป็นพาหะได้ อย่างแน่ชัด ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทุกประเภทที่จำหน่ายผ่านช่องทาง ทึ่ถูกต้องยังคงสามารถรับประทานได้
ในช่วงเวลาการระบาดของโรคโควิด-19 จำเป็นจะต้อง กักตัวอย่บ้าน 14 วันใช่หรือไม่
ทุกคนจะต้องเพิ่มความตระหนักในการป้องกัน หากตรวจพบไว ให้รีบแยกกักตัว ก็จะสามารถลดการแพร่ระบาดลงได้ แต่ไม่จำเป็นจะ ต้องตื่นตระหนก พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะญาติมิตร หลีกเลี่ยงสถาน ที่ที่มีผู้คนแออัด สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน ภายในห้องจะ ต้องมีอากาศถ่ายเท ล้างมือบ่อย ๆ ออกกำลังกายบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการนอน ดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ
ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไข้หวัดสามารถป้องกันการ ติดเชื้อไวรัส โรคโควิด-19 ได้หรือไม่
ยาปฏิชีวนะใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่โรคโควิด-19 จัด อยูในประเภทไวรัส เมื่อใช้ยาปฏิชีวนะไม่เพียงแต่ไม่มีผลในเชิงป้องกันและรักษา แต่กลับจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ยาต้านไข้หวัดใหญ่ เช่น Oseltamivir (Tamiflu) , Ribavirin เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีสรรพคุณในการป้องกนเชื้อไวรัส ของโรคโควิด-19 ยิ่งไปกว่านั้นจนถึงปัจจุบันยังไม่มียารักษาตัวใดที่ให้ผลใน การรักษาโรคโควิด-19 ได้
โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ จำเป็น ต้องทำการฆ่าเชื้อหรือไม่
จำเป็นโดยหลังจากกลับจากภายนอกแล้ว แนะนำให้ทำการปิด โทรศัพท์มือถือ ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 75% เช็ดที่อุปกรณ์ มือถือเพื่อฆ่าเชื้อ ขณะทำการเช็ด อย่าละเลยบริเวณหูฟัง ไมโครโฟน ช่อง เสียบหูฟังและสายชาร์ตของอุปกรณ์ และขอบรอยต่อต่าง ๆ