สุขภาพ

ไข้ลาสซา (Lassa Fever) คืออะไร ? พร้อมวิธีการป้องกัน

ไข้ลาสซา (Lassa Fever) เป็นโรคไข้เลือดออกที่มีสาเหตุมาจากไวรัสลาสซา (Lassa virus) โรคนี้มักพบในแอฟริกาตะวันตกและเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก อาการของโรคไข้ลาสซาประกอบด้วยไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และเสียดท้อง โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสกับของเหลวของผู้ป่วยหรือสัตว์ป่าที่เป็นพาหะ การป้องกันไข้ลาสซาคือการล้างมืออย่างถี่ถ้วน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าหรือของเหลวของผู้ป่วยที่เป็นพาหะ หากมีอาการของโรคนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ไข้ลาสซา คือ
ภาพจาก freepik.com

ไข้ลาสซา

ไข้ลาสซา หรือ ไข้เลือดออกลาสซา (LASSA HEMORRHAGIC FEVER – LHF) คือ ถูกพบครั้งแรกในปี 1969 ในประเทศไนจีเรีย เป็นไข้เลือดออกชนิดหนึ่งที่เกิดจากไวรัสลาสซา (Lassa virus) สายพันธุ์ Arenavirus ต่างจากโรคไข้เลือดออกเพราะพาหะไม่ได้มาจากยุง แต่ไข้ลาสซาเกิดจากการแพร่เชื้อจากสัตว์ประเภทหนู ซึ่งเป็นพาหะนำมาสู่คน และติดต่อจากคนไปยังคนได้ จากนั้นการระบาดเริ่มรุนแรงและกว้างขวางขึ้นในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ถือเป็นโรคที่มีการติดเชื้อและอันตรายกับทุกเพศและทุกวัย

เมื่อราวปี 2016 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ไข้ลาสซา (Lassa Fever) เป็น 1 ใน 6 โรคติดต่ออันตรายที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง! ด้วยสาเหตุว่ายังไม่มียารักษาเฉพาะเจาะจง ทำได้เพียงการรักษาตามอาการ ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ จนกว่าจะกลับมาหายดี ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค

สาเหตุของไข้ลาสซา
ภาพจาก @AVONHMO

สาเหตุของไข้ลาสซา

ไข้ลาสซา หรือไข้เลือดออกลาสซา (LASSA HEMORRHAGIC FEVER – LHF) เป็นไข้เลือดออกชนิดหนึ่งที่เกิดจากไวรัสลาสซา (Lassa virus) สายพันธุ์ Arenavirus ต่างจากโรคไข้เลือดออกเพราะพาหะไม่ได้มาจากยุง แต่ไข้ลาสซาเกิดจากการแพร่เชื้อจากสัตว์ประเภทหนู โดยการสัมผัสละอองฝอยลมหายใจ หรือสัมผัสอุจจาระของหนูที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ดื่มนํ้าที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการแพร่เชื้อในห้องปฏิบัติการ หรือ โรงพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การปนเปื้อนเชื้อในเข็มฉีดยาที่ใช้ซ้ำ หรือติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง อุจาระ ปัสสาวะ ของผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย เชื้อไวรัสนี้มีระยะฟักตัว 2–21 วัน

อาการไข้ลาสซา
ภาพจาก @AVONHMO

อาการไข้ลาสซา

ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ บางครั้งอาจพบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดหัว ปวดท้อง หน้าและคอบวม ต่อมน้ำเหลืองรอบคอโต หายใจลำบาก ผู้ติดเชื้อไวรัสลาสซาส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหนัก บางคนอาจจะไม่มีอาการที่ว่าเลยก็ได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ร้ายแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ต่างจากผู้ติดเชื้ออีโบล่า ซึ่งจะมีเลือดออกทางจมูก ปากและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น เลือดออกจากปาก จมูก และเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการทางระบบประสาท รวมถึงภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ในที่สุด

Advertisement

ป้องกันไข้ลาสซา
ภาพจาก @AVONHMO

ป้องกันไข้ลาสซา

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นการป้องกันโรคไข้ลาสซาที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัยของทั้งตัวเอง คนรอบข้างและส่วนรวมให้ดี หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รับประทานอาหารสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในภาชนะที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ดูแลความสะอาดภายในที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรค

แม้ไข้ลาสซาจะได้ชื่อว่าไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัย อาการของโรคมีทั้งแบบไม่แสดงอาการหรืออาการคล้ายไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า กรณีรุนแรงมากอาจ ตกเลือด ช็อก และเสียชีวิตได้

จากการศึกษาในประเทศไนจีเรียพบการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีมากถึง 50% เด็กที่ป่วยเป็นไข้ลาสซาเสียชีวิตถึง 23% ทั้งนี้ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตของทารก 87% เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ ดังนั้นก่อนเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงการระบาด ควรเตรียมตัวให้พร้อม โดยปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทาง รวมถึงสร้างวินัยตนเอง รักษาความสะอาด ใส่ใจการดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค

สำหรับนักท่องเที่ยวหลังจากกลับจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหากมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดกล้าม เนื้อ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน ส่วนของการป้องกันโรคเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้โดยการรักษาความสะอาด มีสุขอนามัยที่ดีรวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์หนู

โดยสรุป การเจาะลึกเข้าไปในโลกของ Lassa Fever เผยให้เห็นถึงธรรมชาติที่ซับซ้อนของโรคติดเชื้อ และความสำคัญของการตระหนักรู้และการป้องกัน ขณะที่เราได้สำรวจที่มา อาการ และมาตรการป้องกันของโรคไวรัสนี้แล้ว เห็นได้ชัดว่าความรู้คือการป้องกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา ด้วยการรับทราบข้อมูลและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่เหมาะสม เราสามารถร่วมกันลดการแพร่กระจายของไข้ Lassa และโรคที่คล้ายกันได้ ให้ความเข้าใจนี้ช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา ไม่เพียงแต่ในฐานะปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชุมชนระดับโลกด้วย เมื่อร่วมมือกัน เราจะสามารถเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากโรคดังกล่าว และปูทางสู่อนาคตที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดียิ่งขึ้น

ที่มา – samitivejhospitals.com

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button