ต่างประเทศ

โตเกียวออกกฎหมายห้ามเหยียดเพศที่ 3 หรือ LGBT+

LGBT+ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นการเอาตัวอักษรตัวแรกของ L – Lesbian ,G – Gay ,B – Bisexual ,T – Transsexual มีการใช้คำว่า LGBT มาตั้งแต่ยุค 90 ซึ่งดัดแปลงมาจาก LGB ที่ใช้ในการแทนวลี “สังคมเกย์” (Gay community) ที่ในหลาย ๆ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

ความหมาย LGBT

  • L – Lesbian เลสเบี้ยนเป็นคำเรียกของคนที่เป็นหญิงรักหญิง ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในความหมายที่ว่าทอมกับดี้ที่บ้านเรามักใช้เรียกกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำตัวห้าวๆ ตัดผมสั้น รัดหน้าอกให้แบนเหมือนผู้ชาย มีท่าทางเหมือนผู้ชายกับกับคนรักของเขาที่เป็นผู้หญิงทั่วไปแต่ชอบคนเพศเดียวกัน กับอีกประเภทที่เป็นหญิงรักหญิงแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่าคนหนึ่งเป็นชายก็ได้
  • G – Gay เกย์ คือ สถานภาพของชายรักชาย คำว่าเกย์ในความหมายที่แท้จริงไม่ได้หมายความว่าผู้ชายที่แต่งตัวเป็นหญิงแล้วชอบผู้ชาย แต่จะหมายถึงว่าผู้ชายที่ทำตัวภายนอกเหมือนกับผู้ชายทั้งแท่งแต่มีลักษณะการชอบความรักในเพศเดียวกัน ไม่รู้สึกชอบในเพศหญิงหากต้องการได้มาเป็นแฟนหรือคู่ครองก็ต้องการผู้ชายมากกว่า จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเองเหมือนกับกะเพยหรือตุ๊ดแต่อาจมีการแสดงออกเรื่องท่าทางบ้าง
  • B – Bisexual เป็นกลุ่มคนที่สามารถชอบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การแสดงออกของกลุ่มที่คนไทยเรียกว่า ไบ จะแสดงออกด้วยความเป็นตัวเองคือถ้าเป็นผู้ชายก็แสดงออกว่าตนเองเป็นชายแต่สามารถชอบในฐานะคนรักหรือมีความสัมพันธ์ได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิงไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันเท่านั้น
  • T – Transsexual ความหมายคือคนที่เกิดมาโดยการมีเพศธรรมชาติซึ่งก็หมายถึงว่ามีอวัยวะที่แสดงออกว่าตนเองเพศอะไร แต่ในใจกลับรู้สึกว่าตนเองไม่ต้องการเป็นเพศนี้ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองเป็นเพศอย่างที่ใจต้องการ บ้านเราจะเรียกกลุ่มคนลักษณะนี้ว่า ลักษณะเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด เช่น กะเทยที่ต้องการแปลงเพศให้ตัวเองเป็นผู้หญิง เป็นต้น
LBGT

โตเกียวออกกฎหมายห้ามเหยียดเพศที่ 3

กรุงโตเกียวออก กฎหมายใหม่ ห้ามภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปไม่ให้เลือกปฏิบัติต่อชาว LGBT+ และเพศอื่น ๆ ในการซื้อขายหรือให้บริการต่าง ๆ เริ่มบังคับใช้ เมษายน 2019 ต้อนรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2020 โดยกรุงโตเกียวประกาศว่าจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกที่เคารพสิทธิมนุษยชนในทุก ๆ ด้านของทุกคน

นอกจากห้ามเลือกปฏิบัติในการซื้อขายสินค้าหรือบริการทั่วไปแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังส่งเสริมการให้ความรู้ด้านสิทธิ LGBT+ ต่อชาวญี่ปุ่น เปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถใช้บริการด้านสาธารณสุขได้สะดวกขึ้น ตลอดจนห้ามใช้พื้นที่สาธารณะในการปราศัยหรือรณรงค์สร้างความเกลียดชังต่อชาว LGBT+ ด้วย

การตื่นตัวด้านสิทธิ LGBT ของภาครัฐในญี่ปุ่นและ กฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานด้านการเปิดกว้างยอมรับความหลากหลายของโอลิมปิกสากล ซึ่งร่างขึ้นมาใหม่หลังโอลิมปิกฤดูหนาวที่รัสเซียเมื่อปี 2014 ซึ่งถูกวิจารณ์และประท้วงอย่างหนักเกี่ยวกับ กฎหมายเหยียดเกย์

Advertisement

ที่มา – hrw.org

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button