นิทานก้อม

นิทานก้อม : เสือกับขี่คันคาก

นิทานก้อม คือ นิทานที่มีเนื้อเรื่องสั้น ๆ กะทัดรัด อาจจะเป็นในรูปนิทานที่มีคติสอนใจ สอดแทรกคำสอนหรือสะท้อนวิถีชีวิต หรือตลกขำขัน ประโลมโลก นิทานก้อมอาจเล่าในทีมีงานรื่นเริง หรือพบปะเฮฮากัน หรือเล่าสู่กันฟังในตอนเย็น หลังจากกินข้าวเย็นเสร็จ (ข้าวแลง) เพราะว่าสมัยก่อน บ่มีโทรทัศน์ พัดลม หรือ สื่อสิ่งบันเทิง นอกจากมีการมีงานบุญ ถึงจะได้ดูสิ่งมหรสพ เช่น หมอลำ เป็นต้น

เสือกับขี่คันคาก

มีเสือหากินไปพ้อกับขี้คันคาก เสือเห็นขี่คักคากกะเลยคุยใส่ขี่คันคากว่า มึงเต้นซ่าๆจังซี้มึงสิได้กินหยังนำเขา มึงกะคือสิได้กินแต่มดกับแมงนั้นหละแมนบ่ ขี่คันคากกะเลยสูนบักแฮงกะเลยท้าเสือว่ามึงจะกล้าล่าสัตว์ใหญ่แข่งกับกูบ่ เสือได่ยินกะหัวเราะแล้วกะเว้าว่าบักบ่เจียมโตเอ้ย กูให้เวลามึง1ชม.มาพ้อกันบ่อนเก่าแล้วกะเอาสัตว์ใหญ่ที่มึงล่าได่มานำ เว้าแล้วเสือกะหันหลังเตรียมกะโดดเข้าป่าไปล่าสัตว์ระหว่างนั้นขี้คันคากกะแอบคาบขนหางเสือไว้พอเสือกะโดดหางมันกะวีขี่คันขากไปตกในป่าต้นเพ็กขี่คันคากกะกัดเอาหน่อเพ็กสองหน่อ แล้วกะเต้นไปกัดเอาหน่อข่าสองหน่อ

แล้วกะเต้นกลับมาบ่อนเก่ากะพ้อกองถ่านเก่ากะเลยกัดเอาก้อนถ่านก้อนน้อยๆมานำ พอมาฮอดเสือกะกลับมาพอดี เสือเพิ่นกะคายกวางโตหนึ่งกับกระต่ายสองโตแล้วกะถามขี่คันคากว่าใสหละของมึง ขี้คันคากบอกว่ากูล่าได้แล้วกูเอามาบ่ไหวกูกะเลยเอามาแค่บางส่วนของมัน ขี้คันคากกะคายก้อนถ่านออกมา มึงฮู้บ่นี่แมนหยังเสือกะบ่ฮู้ขี่คันคากบอกนี่มันตับหมีควาย เสือกะเริ่มตกใจ คายหน่อข่าออกมา นี่มันแข่วหมูป่า คายหน่อเพ็กออกมานี่มันปลายงาช้าง เสือเริ่มย้านแล้วบาดนี่ ขี่คันคากคายขนเสือที่มันลักคาบไว้ตั้งแต่ทีแรกออกมา กะเลยเว้าว่านี่ขนเสือโคร่งกูเพิ่งล่าได้กูบ่ทันได้กินหยังอยู่ กูว่าสิถ่ามากินมึงนี่หละ เสือย้านตายหลายกระโดดเข้าป่าหายริบ บังอาจเล่นกับพญาคันคาก

Advertisement

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button