นิทานชาดก

นิทานชาดก : โลภมากลาภหาย

“โลภมากลาภหาย” เป็นนิทานชาดกที่เล่าถึงนางพราหมณีผู้โลภมาก เธอจับพญาหงส์ทองมาเลี้ยงไว้เพราะคิดว่าขนของพญาหงส์นั้นมีค่ามหาศาล แต่เพราะความโลภของเธอ ทำให้เธอสูญเสียสิ่งที่มีค่าที่สุดไป

โลภมากลาภหาย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีชื่อถูลนันทา ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคกระเทียม สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง มีภรรยาและได้ลูกสาว 3 คน ชื่อ นันทา นันทวดี และสุนันทา พอลูกสาวทั้ง 3 ได้สามีแล้วทุกคน พราหมณ์ก็ได้เสียชีวิตไปเกิดเป็นหงส์ทองคำระลึกชาติได้

วันหนึ่ง ได้เห็นความลำบากของนางพราหมณีและลูกสาวของตนที่ต้องรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีพ จึงเกิดความสงสาร ได้โผบินไปจับที่บ้านนางพราหมณีแล้วเล่าเรื่องราวให้แก่นางพราหมณีและลูกสาวฟัง และได้สลัดขนให้แก่พวกเขาเหล่านั้นคนละหนึ่งขนแล้วก็บินหนีไป หงส์ทองได้มาเป็นระยะ ๆ มาครั้งใดก็สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขน โดยทำนองนี้นางพราหมณีและลูกสาวจึงร่ำรวยและมีความสุขไปตาม ๆ กัน

ต่อมาวันหนึ่งนางพราหมณีเกิดความโลภจึงปรึกษากับลูก ๆ ว่า “ถ้าหงส์มาครั้งนี้ พวกเรา จะจับถอนขนเสียให้หมด เพื่อจะได้มีทรัพย์สมบัติมาก” พวกลูก ๆ ไม่เห็นดีด้วย แต่นางพราหมณีไม่สนใจ ครั้นวันหนึ่งพญาหงส์ทองมาอีก นางก็ได้จับถอนขนเสียให้หมด ขนเหล่านั้นกลายเป็นขนนกธรรมดาเท่านั้น เพราะพญาหงส์ทองมิได้ให้ด้วยความสมัครใจ นางพราหมณีได้เลี้ยงหงส์นั้นจนขนงอกขึ้นใหม่เต็มตัว หงส์ก็ได้บินหนีไปโดยไม่ได้กลับมาอีกเลย

พระพุทธองค์ เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า

Advertisement

” บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณ เป็นความชั่วแท้ นางพราหมณี จับเอาพญาหงส์ทองแล้วจึงเสื่อมจากทองคำ “

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

โลภมาก มักลาภหาย

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button