ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ตรัสอดีตนิทานเรื่อง “ตายเพราะปาก” ขึ้นเพื่อสอนเหล่าภิกษุถึงความสำคัญของการใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง นิทานเรื่องนี้กล่าวถึงฤาษีขี้โรคผู้หนึ่งที่ถูกฤาษีปากมากพูดจายั่วยุจนโมโหและฆ่าฤาษีปากมากตายในที่สุด นิทานเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงโทษของการพูดจาไม่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและการสูญเสียได้
ตายเพราะปาก
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เมื่อเรียนจบศิลปะทุกอย่างจากเมืองตักกสิลา แล้วบวชเป็นฤาษี ได้เป็นอาจารย์ผู้ให้โอวาทแก่ฤาษี 500 ตน
ในที่นั้น มีฤาษีขี้โรคผอมเหลืองผู้หนึ่ง วันหนึ่ง ท่านกำลังนั่งฝ่าฝืนอยู่ ได้มีฤาษีปากมากผู้หนึ่งเข้ามานั่งใกล้ๆ แล้วพูดว่า “ท่านจงฟันอย่างนี้ จงฟันตรงนี้”
ทำให้ฤาษีขี้โรคโกรธแล้วกล่าวว่า “ท่านไม่ใช่อาจารย์สอนศิลปะการฝ่าฟืนของผมนะ” จึงฟันดาบสนั้นเสียชีวิตด้วยมีดฝ่าฟืนนั่นเอง
และในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของฤาษี มีนกกระทาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่จอมปลวก ทุกเช้าเย็นมันจะขึ้นไปยืนขันเสียงดังลั่นอยู่บนจอมปลวกนั้นเป็นประจำทุกวัน เป็นเหตุให้พรานผู้หนึ่งมาจับมันไปเป็นอาหาร
ฤาษีพระโพธิสัตว์ไม่ได้ยินเสียงมันขันจึงถามหมู่ฤาษี เมื่อทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ท่ามกลางหมู่ฤาษีว่า
” คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา ย่อมฆ่าคนผู้มีปัญญาทรามเสีย เหมือนเสียงฆ่านกกระทา ที่ขันดังเกินไป “
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การพูดมากไม่ดี ควรพูดตามกาลเทศะ และพูดแต่ที่ดี