นิทานชาดก

นิทานชาดก : ธรรมสำหรับต้นไม้

ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อโลกของเราเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ต้นไม้ยังให้ร่มเงาและที่อยู่อาศัยแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกด้วย นิทานชาดกเรื่อง “ธรรมสำหรับต้นไม้” สอนให้เราเห็นถึงคุณค่าของต้นไม้และความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกใบนี้

ธรรมสำหรับต้นไม้

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภถึงความพินาศใหญ่ที่กำลังจะเกิดแก่พระประยูรญาติของพระองค์ เพราะทะเลาะกันเรื่องน้ำ ขอให้สมานสามัคคีร่วมใจกัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ท้าวเวสวรรณมหาราชถึงคราวจุติ จึงส่งข่าวไปยังเทพยดาให้จับจองต้นไม้ กอไผ่ พุ่มไม้และเครือไม้ทำเป็นวิมานสถานที่อยู่ รุกขเทวดาตนหนึ่ง จึงประกาศในท่ามกลางหมู่ญาติ ให้จับจองต้นไม้ทำเป็นวิมานสถานที่อยู่ อย่าไปอยู่บนเนิน ให้อยู่รวมกันที่ป่ารัง พวกเทพยดาที่เป็นบัณฑิตต่างก็ทำตามคำสั่งของรุกขเทวดานั้น ส่วนพวกเทพยดาผู้ไม่ใช่บัณฑิตไม่เชื่อคำ จึงพากันไปจับจองวิมานอยู่ตามประตูบ้าน ประตูเมือง ถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ด้วยหวังในลาภยศอันเลิศ ได้เลือกต้นไม้ใหญ่บนเนินเป็นวิมานที่อยู่อาศัย

อยู่มาวันหนึ่ง เกิดลมพายุฝนห่าใหญ่ถอนรากโคนต้นไม้ใหญ่ล้มลงหมด เหลือไว้แต่ป่ารังซึ่งอยู่ติดชิดกันหนาแน่น พวกเทพยดาที่อยู่ต้นไม้ใหญ่ต่างจูงลูกไปหาพวกรุกขเทวดาที่ป่ารัง ขออาศัยอยู่ด้วย รุกขเทวดาที่ป่ารังจึงกล่าวว่า

“ชื่อว่า ผู้ไม่เชื่อถือคำของหมู่บัณฑิต แล้วพากันไปสู่สถานที่อันหาปัจจัยมิได้ ย่อมเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น”

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

แล้วกล่าวคาถาว่า

“ญาติยิ่งมีมากยิ่งดี แม้ต้นไม้เกิดในป่า ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี (เพราะ) ต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะใหญ่โต ลมย่อมพัดให้หักโค่นได้”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ทุกคนควรมีญาติพี่น้องเป็นที่พึ่งพิง

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button