นิทานชาดก

นิทานชาดก : หญิงเจ้าปัญญา

ในสมัยพุทธกาล มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งที่ชาญฉลาด เธอสามารถใช้ปัญญาของเธอเพื่อปกป้องสามีจากโทษทัณฑ์ของพระเจ้าโกศลได้อย่างน่าทึ่ง เรื่องราวนี้ถือเป็นนิทานชาดกที่สอนให้รู้ว่าปัญญาเป็นสิ่งมีค่าและสามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่ยากลำบากได้

หญิงเจ้าปัญญา

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภหญิงชนบทคนหนึ่ง …

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พวกโจรป่าได้ปล้นชาวบ้านแล้วนำทรัพย์สินหนีไป พวกทหารตามจับทั้งคืนจนรุ่งแจ้ง ในที่ไม่ไกลจากดงมีชายอยู่ 3 คน กำลังไถนาอยู่ ทหารตามจับโจรมาถึงที่นั้น จึงจับชายทั้ง 3 คนไปด้วยคิดว่า “พวกโจรปล้นแล้วมาทำทีเป็นไถนาอยู่” นำไปถวายพระเจ้าโกศล

ลำดับนั้น มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง ร่ำไห้มาหาพระราชา ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่นาง เดินวนเวียนตามพระราชวังไปมา พระราชาจึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าห่มแก่นาง ทหารได้นำผ้าห่มไปให้นาง นางกลับบอกว่านางไม่ต้องการผ้านี้ นางต้องการผ้าห่มคือสามี

พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเรื่องนั้น นางจึงกราบทูลว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

“สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาเป็นแสน ก็ยังชื่อว่าเป็นหญิงเปลือยอยู่นั้นเอง พระเจ้าค่ะ”

บัณฑิตจึงกล่าวว่า

“แม่น้ำที่ไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจากผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง 10 คน ก็ชื่อว่าเปลือย”

พระราชาทรงเลื่อมใสนาง จึงตรัสถามว่า “ชาย 3 คนนี้เป็นอะไรกับเจ้า”

นางกราบทูลว่า

“คนหนึ่งเป็นสามี คนหนึ่งเป็นพี่ชาย และคนหนึ่งเป็นลูกชาย พระเจ้าค่ะ”

พระราชาตรัสว่า

“ในชาย 3 คนนี้ ให้เจ้าเลือกเอาหนึ่งคน เจ้าจะเอาใคร”

นางกราบทูลว่า

“เมื่อหม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีและบุตรต้องหาได้ แต่เพราะมารดาและบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชายคนเดียวหาได้ยาก ขอพระองค์พระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ”

พระราชาทรงพอพระทัย มีความยินดียิ่ง จึงทรงปล่อยคนทั้ง 3 ไป เพราะอาศัยหญิงนั้นคนเดียว

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

หญิงฉลาดย่อมเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button