นิทานชาดก : การเสี้ยมสอน เป็นนิทานที่สอนให้รู้ว่า การเสี้ยมสอนผู้อื่นให้ทะเลาะกันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความเสียหายในที่สุด นิทานเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับช้างสองเชือกที่เป็นเพื่อนรักกัน แต่กลับถูกเสี้ยมสอนให้ทะเลาะกันโดยช้างตัวที่สาม ผลจากการทะเลาะกันทำให้ช้างทั้งสองเชือกได้รับบาดเจ็บและเกือบตาย นิทานเรื่องนี้สอนให้เรารู้จักหลีกเลี่ยงการเสี้ยมสอนผู้อื่น และสอนให้รู้จักให้อภัยและมองข้ามความแตกต่าง
การเสี้ยมสอน
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ทุศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัต ในเมืองพาราณสี มีช้างมงคลตัวหนึ่งนามว่า มหิลามุข เป็นช้างมีศีล มีอาจาระมารยาทงาม ไม่เบียดเบียนใคร ๆ ต่อมาในคืนหนึ่ง พวกโจรได้ไปปรึกษาวางแผนการปล้นที่ใกล้โรงช้างนั้น คุยกันว่าจะทำลายอุโมงค์อย่างไร จะลักสิ่งของอย่างไร ฆ่าเจ้าของแล้วจึงลักขโมย โจรต้องเป็นคนกักขฬะ หยาบช้า ป่าเถื่อน เป็นต้น
พวกโจรได้ปรึกษากันเช่นนี้หลายคืน ช้างได้ฟังทุกคืน เข้าใจว่า “พวกโจรสอนให้ตนเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ป่าเถื่อน” เช้าตรู่วันหนึ่ง จึงเอางวงจับคนเลี้ยงช้างฟาดพื้นดินให้ตายไปหลายคน
พวกทหารได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระราชา พระองค์ทรงรับสั่งให้อำมาตย์เข้าเฝ้า และให้ไปตรวจดูช้างว่า เป็นเพราะเหตุไร อำมาตย์ไปตรวจดูแล้วพบว่าช้างปกติดี ไม่เป็นโรคอะไร จึงคิดว่าเหตุที่ช้างดุร้าย อาจได้รับฟังคำของใคร ๆ ในที่ไม่ไกล จึงถามคนเลี้ยงช้างว่า
“พวกท่านพบเห็นอะไรผิดสังเกตหรือไม่” พวกคนเลี้ยงช้างแจ้งให้ทราบว่า “เห็นพวกโจรมาปรึกษากันใกล้โรงช้างหลายคืนแล้วละครับท่าน”
อำมาตย์จึงไปกราบทูลพระราชาว่า
“ช้างมหิลามุขเป็นปกติดี เหตุที่ช้างดุร้ายเป็นเพราะได้รับฟังคำของพวกโจร พ่ะย่ะค่ะ ต่อแต่นี้ให้นิมนต์พระผู้มีศีลมากล่าวถึงศีลและอาจาระมารยาทอันงามในที่ใกล้โรงช้างนั้น ช้างก็จะเลิกดุร้าย พะย่ะค่ะ”
พระราชารับสั่งให้กระทำเช่นนั้น ผ่านไปสองสามวันเท่านั้น ช้างมหิลามุขก็กลับมาเป็นช้างที่มีศีลธรรมปกติเหมือนเดิม
พระราชาทราบความนี้แล้วจึงตรัสเป็นคาถาว่า
“พญาช้างชื่อมหิลามุข ได้เที่ยวทำร้ายคน เพราะได้ฟังคำของพวกโจรมาก่อน พญามงคลหัตถี ได้ตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งปวง ก็เพราะได้ฟังคำของนักบวชผู้สำรวมดีแล้ว”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คนจะดีหรือเลวสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก