นิทานชาดก

นิทานชาดก : กวางเจ้าปัญญา

นิทานชาดก : กวางเจ้าปัญญา เป็นนิทานที่สอนให้รู้ว่า ผู้มีปัญญาใคร่ครวญแล้วจึงทำ กวางเจ้าปัญญาตัวนี้มีไหวพริบและฉลาดแกมโกง ถึงแม้จะถูกนายพรานหลอกล่อด้วยผลมะรื่น แต่ก็สามารถรอดพ้นจากการถูกล่าได้ ด้วยการใช้ปัญญาและไหวพริบของตน

กวางเจ้าปัญญา

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกวางตัวหนึ่ง หากินผลมะรื่นในป่าแห่งหนึ่ง มีพรานชาวบ้านคนหนึ่ง มีอาชีพล่าเนื้อขาย ด้วยการผูกห้างบนต้นไม้มะรื่น ซัดหอกฆ่ากวางที่มากินผลมะรื่นนั้นเป็นประจำทุกวัน

ในวันหนึ่ง กวางเจ้าปัญญานั้น มากินผลมะรื่นตั้งแต่เช้าตรู่ แต่ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นมะรื่นนั้นเลยทีเดียว ด้วยคิดว่าอาจจะมีพรานนั่งห้างอยู่บนต้นไม้นั้นก็ได้ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่ภายนอก

ฝ่ายนายพรานเมื่อเห็นกวางไม่เข้ามา จึงโยนผลมะรื่นให้ตกลงข้างหน้ากวางนั้น หวังล่อให้กวางเข้าไป ฝ่ายกวางเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่า “ข้างบนต้นไม้ต้องมีนายพรานอยู่อย่างแน่นอน เพราะลมไม่มี แล้วทำไมผลมะรื่นจึงมาตกที่หน้าของเราได้”

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

จึงแหงนไปดูบนต้นไม้ เหลือบไปเห็นนายพรานบนต้นไม้ แกล้งทำเป็นไม่เห็นแล้วจึงพูดขึ้นว่า “ต้นมะรื่นเอ๋ย เมื่อก่อนท่านให้ผลตกลงตรงๆ แต่บัดนี้ ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เราจะไปยังต้นไม้อื่นแสวงหาอาหารของเรา” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

“แน่ะไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลมะรื่นให้หล่นกลิ้งมานั้น เราผู้เป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ต้นมะรื่นต้นอื่น เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน”

ฝ่ายนายพรานที่นั่งอยู่บนห้างนั้น ได้พุ่งหอกไปยังกวางนั้นอย่างสุดแรง หวังฆ่ากวางนั้นให้ตาย แต่หอกนั้นพลาดเป้าเพราะอยู่ไกลเกินไป กวางได้วิ่งหนีเข้าชายป่าไปด้วยความปลอดภัย

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ผู้มีปัญญาใคร่ครวญแล้วจึงทำ

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button