นิทานชาดก

นิทานชาดก : เต่าชอบโอ้อวด

เคยได้ยินสำนวน “ปากว่าตาขยิบ” กันไหม? หมายถึงคนที่ชอบโอ้อวดเกินจริง ชอบพูดจาอวดอ้างสรรพคุณตัวเองจนเกินความเป็นจริง นิทานชาดก “เต่าชอบโอ้อวด” เป็นอีกหนึ่งนิทานที่สอนใจให้เรารู้จักถ่อมตน ไม่โอ้อวดเกินจริง เพราะอาจนำไปสู่ผลร้ายได้

เต่าชอบโอ้อวด

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุสหายกันสองรูปที่มักเถียงกันว่า ใครรูปหล่อกว่ากัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

บทความที่เกี่ยวข้อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา สมัยนั้นมีปลาอยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา อีกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำยมุนา ปลาทั้ง 2 ตัวเมื่อว่ายมาเจอกันที่แม่น้ำทั้ง 2 สายมาบรรจบกันตรงที่ต้นไม้นั้นอยู่ก็มักจะทุ่มเถียงกันว่าใครงามกว่ากันเสมอ ต่างก็ว่าตัวเองนั้นงามกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงกันไม่ได้สักที จึงพากันไปหาเต่าตัวหนึ่งเป็นผู้ตัดสินให้ว่าใครงามกว่ากัน

“ท่านเต่าผู้น่ารัก ขอท่านช่วยตัดสินให้พวกข้าพเจ้าเสียทีว่าใครงามกว่ากัน”

Advertisement

เต่าตัดสินว่า “ท่านปลาทั้งสอง ท่านที่มีอยู่แม่น้ำคงคาก็งามดีไม่มีที่ติ ท่านที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งามดีไม่มีที่ติ แต่โดยรวมแล้วเรางามกว่าพวกท่านทั้งสองอยู่ดี”

ปลาทั้ง 2 ตัวฟังคำตัดสินของเต่าแล้วก็ด่ามันกว่า “เจ้าเต่าชั่ว เจ้าไม่ตอบคำถามของพวกเรากลับตอบไปอย่างอื่น” แล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า

“ท่านไม่ตอบเรื่องที่เราถาม เราถามอย่างหนึ่ง ท่านกลับตอบเสียงอีกอย่างหนึ่ง คนที่ยกย่องตนอง พวกเราไม่ชอบใจเลย”

ว่าแล้วปลาทั้ง 2 ตัวก็พ่นน้ำใส่เต่านั้น เต่ากลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม เทวดาโพธิสัตว์เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอดได้แต่ให้เสียงสาธุการ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ผู้มักโอ้อวดตนเอง ยกตนข่มท่าน มักจะไม่มีเพื่อนและขาดคนเชื่อถือ

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button