นิทานชาดก

นิทานชาดก : ตำราเลือกลูกเขย

นิทานชาดก : ตำราเลือกลูกเขย เป็นนิทานชาดกที่กล่าวถึงพราหมณ์ที่มีลูกสาวสี่คน แต่ละคนมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วไป พราหมณ์จึงตัดสินใจไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกลูกเขย อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ตรัสสอนพราหมณ์ว่า สิ่งสำคัญในการเลือกลูกเขยคือศีลธรรม ไม่ใช่รูปสมบัติหรือชาติตระกูล

ตำราเลือกลูกเขย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพราหมณ์เลือกลูกเขยคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

บทความที่เกี่ยวข้อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมืองตักกสิลา มีพราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาว 4 คน แต่ละคนมีรูปร่างสวยงามเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วไปในบรรดาชายหนุ่มที่มาจีบลูกสาวของพราหมณ์นั้นมีชายหนุ่ม 4 คนที่เข้าตาของพราหมณ์ คือ คนที่ 1 เป็นคนรูปหล่อ คนที่ 2 มีอายุมากแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ คนที่ 3 เป็นลูกชายเศรษฐีตระกูลดี คนที่ 4 เป็นคนมีศีลธรรม

พราหมณ์คิดหนักใจว่าจะเลือกใครเป็นลูกเขยดี เพราะทั้ง 4 คน ก็มีความดีแตกต่างกันไป เขาจึงตัดสินใจไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า “ท่านอาจารย์ครับ ผมมีเรื่องกลุ้มใจมาปรึกษาอาจารย์ คือมีชายหนุ่มอยู่ 4 คน คือ 1 คนรูปหล่อ 2 คนอายุมาก 3 คนมีชาติสูง 4 คนมีศีล มาจีบลูกสาวผม ผมคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครดี ถ้าอาจารย์เป็นผมจะเลือกเอาคนไหน”

Advertisement

พระโพธิสัตว์พูดตอบว่า “พราหมณ์..คนไม่มีศีลถึงมีรูปสมบัติก็น่าตำหนิ ดังนั้น รูปสมบัตินี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ถ้าฉันเป็นพราหมณ์นะ ฉันจะเลือกคนมีศีลเป็นลูกเขย” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

“ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล”

พราหมณ์ฟังแล้วชอบใจ พอกลับไปถึงบ้านจึงตัดสินในยกลูกสาวทั้ง 4 คน ให้แก่คนผู้มีศีลไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ผู้มีศีลธรรมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button