นิทานชาดก

นิทานชาดก : อานิสงส์การแผ่เมตตา

การแผ่เมตตาเป็นธรรมะที่สำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นการสร้างความรักความปรารถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสุขทั้งกายและใจ อีกทั้งยังมีอานิสงส์มากมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต

อานิสงส์การแผ่เมตตา

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงตรัสปรารภเมตตาสูตรว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการแผ่เมตตามี 11 ประการ คือ

  1. หลับเป็นสุข
  2. ตื่นเป็นสุข
  3. ไม่ฝันร้าย
  4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
  5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
  6. เทวดาย่อมรักษา
  7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่ล่วงเกิน
  8. จิตได้สมาธิเร็ว
  9. สีหน้าผ่องใส
  10. ไม่หลงตาย
  11. เมื่อยังไม่บรรลุ ธรรม ย่อมเข้าถึงพรหมโลกชั้นสูง

ภิกษุทั้งหลาย พึงเจริญเมตตาไปในสัตว์ทุกชนิดโดยเจาะจงและไม่เจาะจง พึงเจริญ กรุณา มุทิตา อุเบกขา แม้ไม่ได้มรรคผลก็ยังเข้าถึงพรหมโลกได้” แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีชื่ออรกะ บำเพ็ญเพียรอยู่ป่าหิมพานต์ ได้เป็นอาจารย์สอนหมู่ฤาษี พร่ำสอนอานิสงส์เมตตาว่า “ธรรมดาพรรพชิตควรเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะเมื่อจิตถึงความแน่วแน่แล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมโลกได้” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

“ผู้ใดอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งมวล ด้วยเมตตาจิตอันหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำและเบื้องล่าง โดยประการทั้งปวง จิตเกื้อกูล หาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อันผู้นั้นอบรมมาดีแล้ว กรรมใดที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจะไม่เหลืออยู่ในจิตของเขานั้น”

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

เมื่อกล่าวคาถาจบ ได้พาหมู่ฤาษีบำเพ็ญเพียรไม่เสื่อมจากฌาน ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ไม่ได้กลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก เป็นเวลา 7 สังวัฏฏกัป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อานิสงส์ของการเจริญภาวนามี อยู่ ๑๑ ประการ นักปฏิบัติธรรมพึงมีความขยันมั่นเพียรเทอญ

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button