นิทานชาดก

นิทานชาดก : สัตว์ 4 สหาย

นิทานชาดก : สัตว์ 4 สหาย เป็นนิทานสอนใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ 4 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยว ราชสีห์ นกออก และเต่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า มิตรแท้นั้นมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด ไม่ว่าจะเผชิญกับอุปสรรคใด ๆ ก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยกันเสมอ

สัตว์ 4 สหาย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภอุบาสกผู้ผูกมิตรคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธ ว่า…

บทความที่เกี่ยวข้อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวบ้านกลุ่มหนี่งประกอบอาชีพล่าสัตว์ พอทราบว่าป่าใดมีสัตว์มากก็จะพากันตั้งแค้มป์พักอยู่ใกล้ป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่งในป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่ง ในป่านั้นมีสระเกิดเองโดยธรรมชาติสระหนึ่ง มีสัตว์ 4 ชนิดอาศัยอยู่รอบสระ ด้านขวามือของสระมีเหยี่ยว 2 ผัวเมียอาศียอยู่ ด้านเนือมีราชสีห์ ด้านตะวันออกมีพญานกออก (นกเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิดหนี่ง ชอบหากินปลาในทะเล) และในสระมีเต่าอาศัยอยู่ สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชสีห์

วันหนึ่งเหยี่ยวสามีได้ปรึกษาภรรยาว่า “นี่น้อง..เราควรจะมีลูกน้อยได้แล้วละ” ภรรยากล่าวว่า “พี่.. เรายังไม่มีมิตรสักคนเลย ถ้าเกิดภัยอันตรายขึ้นมา เราจะไปพึ่งใคร ก่อนแต่จะมีลูกน้อย น้องว่าเราควรจะเข้าไปผูกมิตรกับสัตว์อีก 3 ตัวนั้นก่อน” สามีเห็นดีด้วยเมื่อผูกมิตรกับสัตว์ทั้ง 3 ตัวแล้ว จึงไปทำรังอยู่ที่ต้นกระทุ่มต้นหนึ่งข้างสระน้ำนั้น ไม่นานก็มีลูกน้อย 2 ตัว

Advertisement

อยู่มาวันหนึ่ง พวกชาวบ้านกลุ่มนั้นพากันตระเวนล่าสัตว์ป่าตลอดวันไม่ได้สัตว์อะไรสักตัวเลยปรึกษากันว่า “เมื่อไม่ได้อะไรพวกเราก็พักอยู่ในป่านี่แหละ ได้อะไรแล้วค่อยกลับคืนบ้าน” ตกลงพักค้างคืนใต้ต้นกระทุ่มต้นนั้น เมื่อมียุงมารุมกัดพวกเขาจึงก่อกองไฟขึ้น ควันไฟได้รมลูกนกเหยี่ยวมันจึงพากันร้อง พวกเขาจึงพูดกันว่า “เสียงลูกนกนี่ หาอะไรไม่ได้ทั้งวันหิวจนตาลายอยู่แล้ว มัดคบเพลิงเร็ว จะขึ้นไปนำมันลงมาปิ้งกัน” แม่เหยี่ยวพอลูกส่งเสียงร้องก็ทราบว่ามีภัยอันตรายแล้ว จึงรีบบินบอกสามีให้ไปขอความช่วยเหรือจากพญานกออก

พญานกออกยินดีช่วยเหลือได้บินไปจับอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่ข้างเคียง พอชาวบ้านคนหนึ่งถือคบเพลิงปีนขึ้นต้นไม้ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยว มันก็รีบบินลงในสระน้ำนำมาดับคบเพลิง คนนั้นก็จะลงมาจุดคบเพลิงและปีนขึ้นไปใหม่ ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยวก็ถูกพญานกออกดับคบเพลิงอีก เป็นอยู่ลักษณะเช่นนี้จนถึงเที่ยงคืน พญานกออกเหน็ดเหนื่อยจนตาแดงก่ำ เหยี่ยวเห็นพญานกออกเหน็ดเหนื่อมากแล้วจึงขอบคุณและให้กลับไปพักผ่อนส่วนตนรีบขอความช่วยเหลือจากเต่า เต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำนำเปลือกตมและสาหร่ายขึ้นไปดับกองไฟ แล้วหมอบอยู่

พวกชาวบ้านเห็นเต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำมาดับไฟก็พากันหันมาจับเต่าแทน ช่วยกันดึงเถาวัลย์ และแก้ผ้านุ่งผูกเต่าดึงไว้กลับถูกเต่าใหญ่ลากลงสระน้ำไป ต่างคนก็สะบักสบอมได้กินน้ำจนพุงกาง ขึ้นจากสระน้ำแล้วพากนบ่นพึมพำว่า “พวกเราเหวย ..นกออกคอยดับคบเพลิงเราตั้งครึ่งคืน คราวนี้โดนเต่าใหญ่ลากลงน้ำได้กินน้ำจนพุงกาง ก่อไฟขึ้นใหม่เถอะเรา เมื่ออรุณขึ้นแล้วค่อยกินลูกเหยี่ยวก็ได้” ว่าแล้วกากันเก็บฟืนมาก่อไฟขึ้นใหม่

ส่วนเหยี่ยว 2 ผัวเมียหารือกันว่า “คงจะต้องถึงเวลาไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์แล้วละทีนี้” เหยี่ยวสามีจึงไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์ ราชสีห์รับคำแล้วเดินไปที่กองไฟของพวกชาวบ้าน พวกเขาพอเห็นราชสีห์เดินมาต่างก็พากันกลัวตายร้องเสียงหลงว่า “ครั้งแรกนกออกคอยดับคบเพลิง เต่าใหญ่มาทำให้พวกเราผ้าเปียก คราวนี้ราชสีห์จักมาเอาชีวิตพวกเราแล้วต่างพากันแตกตื่นวิ่งหนีกระเจิงไป

ราชสีห์เดินไปใต้ต้นกระทุ่มไม่เห็นมีใครหลงเหลืออยู่เลย ไม่นานเหยี่ยว พญานกออก และเต่าก็เข้ามาหา ราชสีห์จึงให้โอวาทว่า ” ต่อแต่นี้ไป สูเจ้าทั้งหลายอย่าทำลายมิตรธรรม อยู่อย่างไม่ประมาทเถิด” แล้วก็กลับที่อยู่ของตน สัตว์ต่าง ๆ ก็แยกย้ายกลับที่อยู่ของตนไป แม่เหยี่ยวมองดูลูกน้อยของตนแล้วพูดขึ้นว่า “เพราะอาศัยมิตรแท้ ๆ เราจึงรักษาลูกๆ ไว้ได้” แล้วจึงกล่าวเป็นคาถาว่า

“บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่ เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้วป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ฉะนั้น”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

มิตรแท้สามารถช่วยเหลือในยามทุกข์ยามลำบากได้

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button