นิทานชาดก

นิทานชาดก : ตายเพราะปาก

นิทานชาดก : ตายเพราะปาก เป็นนิทานชาดกที่มีข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับโทษของการพูดจาไม่ระวัง เรื่องนี้เล่าถึงฤาษีผู้หนึ่งที่มีปากมากชอบสอนผู้อื่น แต่กลับไม่รู้จักกาลเทศะ จนทำให้ถูกฤาษีอีกตนที่ตนสอนฆ่าตายในที่สุด นิทานเรื่องนี้สอนให้เรารู้จักไตร่ตรองก่อนพูด พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับกาลเทศะ เพื่อไม่ให้คำพูดของเรานำไปสู่ความเดือดร้อน

ตายเพราะปาก

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระโกกาลิกะผู้เดือดร้อนเพราะปากไม่ดี ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายหนุ่มชื่อตักการิยะ ไปศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ในสำนักของพราหมณ์ ปุโรหิตคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ท่านปุโรหิจเป็นคนตาเหลือง มีเขี้ยวงอกออกมา ภรรยาของท่านได้คบชู้กับคนตาเหลืองมีเขี้ยวงอกออกมาเหมือนกัน ท่านห้ามปรามภรรยาให้เลิกพฤติกรรมนั้นเสียแต่ก็ไม่เป็นผล จึงคิดหาวิธีฆ่าชายชู้นั้นได้อย่างหนึ่ง

อยู่มาวันหนึ่งท่านเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า “ขอเดชะมหาราชเจ้า เมืองนี้เป็นเมืองชั้นเลิศในชมพูทวีป พระองค์ก็เป็นอัครราชา แต่ประตูเมืองด้านทิศใต้สร้างไว้ไม่เป็นมงคล ต้องรื้อประตูเก่าแล้วสร้างประตูใหม่ตามมงคลฤกษ์ พระเจ้าข้า” พระราชารับสั่งให้สร้างประตูใหม่ตามนั้น

เมื่อรื้อประตูเก่าสร้างใหม่แล้ว ท่านพราหมณ์ได้กราบทูลอีกว่า “ขอเดชะ ประตูเสร็จแล้ว พรุ่งนี้เป้นวันฤกษ์ดี ต้องทำพลีกรรมบวงสรวงประตูเชิญเทพยาดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มาสถิต ด้วยการฆ่าพราหมณ์บริสุทธิ์คนหนึ่งผู้มีตาเหลือง มีเขี้ยวงอก นำเลือดเนื้อมาบวงสรวงแล้วนำใส่อ่างฝังไว้ใต้ประตู จึงจักเกิดสวัสดีมงคลแก่พระองค์แก่เมือง พระเจ้าข้า” พระราชารับสั่งให้ทำตามนั้น ทำให้ท่านดีใจว่า “พรุ่งนี้ละเป็นวันตายของศัตรูเรา” เมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วก็อดที่จะพูดไม่ได้ จึงบอกภรรยาว่า “อีชั่ว ตั้งแต่นี้ไปมึงจะชมชื่นกับใครเล่า พรุ่งนี้กูก็จะฆ่าชู้มึงแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

ภรรยาเถียงว่า “เขาไม่มีความผิด จะุฆ่าเขาเพราะเหตุอะไรเล่า” ท่านตอบว่า “พระราชารับสั่งให้กูทำพลีกรรมประตูเมืองด้วยเลือดเนื้อของพราหมณ์ผู้มีเขี้ยวและตาเหลือง ชายชู้มึงมีเขี้ยวและตาเหลืองมิใช่รึ” นางจึงรับส่งข่าวไปให้ชายชู้ทราบและกำชับให้รีบหนีไปที่อื่นและชวนผู้มีลักษณะเช่นเดียวกันหนีไปด้วย ชายชู้ได้รีบหนึและส่งข่าวเลื่องลือไปทั่วเมือง เป็นเหตุให้พราหมณ์ที่มีเขี้ยวและตาเหลืองพากันหนีไปที่อื่นหมด

ในวันรุ่งขึ้นปุโรหิตที่ไม่รู้ว่าศัตรูหนีไปแล้ว รีบเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่ กราบทูลว่า “ขอเดชะ ที่โน่นมีพราหมณ์ผู้มีเขี้ยวและตาเหลืองอยู่คนหนึ่ง โปรดรับสั่งให้จับมาเถิด พระเจ้าข้า” พระราชาส่งอำมาตย์ไปให้จับเขามาทำพลีกรรม ไม่นานพวกอำมาตย์กลับมาทูลว่า “ขอเดชะ เขาหนีไปตั้งแต่เมื่อคืนนี้แล้ว พระเจ้าข้า” เมื่อรับสั่งว่า “คนอื่นๆ ละ” ก็ทูลให้ทราบว่า “คนอื่น ๆ ก็หนีไปหมดแล้ว นอกจากท่านปุโรหิต ผู้มีลักษณะนี้ไม่มีอีกเลยพระเจ้าข้า”

  • พระราชา “เราไม่อาจฆ่าปุโรหิตได้”
  • พวกอำมาตย์ “ขอเดชะ พระองค์ตรัสอะไรเช่นนั้น ก็ท่านอาจารย์บอกอยู่ว่า เว้นวันนี้ไปแล้วต้องรออีกหนึ่งปีจึงจะได้ฤกษ์ดี เมื่อไม่มีประตูตั้งปี จักเปิดโอกาสแก่พวกข้าศึกได้ พวกเราจำเป็นต้องฆ่าท่านปุโรหิต เพื่อรักษาฤกษ์ยามนะ พระเจ้าข้า”
  • พระราชา “มีพราหมณ์อื่นที่ฉลาดเหมือนท่านปุโรหิตบ้างไหมละ”
  • พวกอำมาตย์ “มีอยู่พระเจ้าข้า เขาชื่อตักการิยะ เป้นลูกศิษย์ของท่านปุโรหิตนั่นแหละ”

พระราชารับสั่งเรียกให้เขาเข้าเฝ้าและประทานตำแหน่งปุโรหิตให้แก่เขา แล้วสั่งให้ทำตามอำมาตย์เสนอ ทหารจับมัดพราหมณ์ปุโรหิตนั้นขุดหลุมที่ตั้งประตูกั้นม่านล้อมรอบพราหมณ์ไว้พราหมณ์มองดูหลุมพลางถอนหายใจว่า “เราเป็นคนจัดแจงความพินาศแก่ตนเอง เพราะพูดมากแท้ๆ” พลางพูดกับลูกศิษย์ปุโรหิตคนใหม่ว่า “ตักการิยะ ฉันเป็นคนโง่เขลาเหมือนกบป่าเรียกงูมากินตนเอง สุดท้ายฉันจะต้องลงหลุมนี้ คนที่พูดไม่มีขอบเขตไม่ดีเลยนะ”

ตักการิยะได้นำเรื่องในอดีตมาเล่าสู่อาจารย์ว่า “อาจารย์ท่านไม่ได้รักษาคำพูดและเกิดความทุกข์ผู้เดียวเท่านั้นก็หาไม่ คนอื่นๆ ก็เคยประสบมาแล้วเหมือนกัน กล่าวคือ ในอดีตมีหญิงโสเภณีคนหนึ่งชื่อกาลี มีน้องชายชื่อตุณฑิละ เป็นนักเลงผู้หญิง นักเลงสุราและนักเลงการพนัน พี่สาวห้ามอย่างไรเขาก็ไม่เชื่อฟัง พี่สาวให้ทรัพย์ไปเท่าไรก็นำไปเที่ยวเล่นหมด วันหนึ่งเขาเล่นการพนันแพ้จำเป็นต้องขายผ้านุ่ง เอาเสื่อนุ่งมาแทนกลับมา อย่าให้อะไรเขานะ ไล่เขาออกไปจากบ้านไป” เมื่อเขาเข้าบ้านไม่ได้ก็ยืนร้องไห้อยู่หน้าประตูบ้านนั้นแหละ มีลูกเศษฐีคนหนึ่ง จะมาเที่ยวหญิงโสเภณีคนนี้เป็นประจำ วันนั้นเขามาเที่ยวเช่นเคยเห็นนายตุณฑิละยืนร้องไห้อยู่จึงถามดู เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็รับปากว่าจะพูดกับพี่สาวให้ เมื่อเขาบอกนางแล้วนางกลับตอบว่า “ถ้าคุณสงสารมันก็ให้เงินมันไปซิ”

สมัยนั้น ในบ้านโสเภณีมีธรรมเนียมอยู่ว่า เมื่อได้รับเงิน 1,000 บาท จะเป็นของหญิงโสเภณี 500 บาท อีก 500 บาทจะเป็นค่าผ้าและเครื่องประดับ ชายที่มาเที่ยวจะนุ่งผ้าประจำบ้านนั้นทั้งคืน เมื่อจะกลับจึงจะนุ่งผ้าของตน ลูกชายเศรษฐีเมื่อผลัดผ้าประจำบ้านโสเภณีแล้ว กำลังอยู่ในอาการเมาจึงเอ่ยปากยกเสื้อผ้าของตนให้นายตุณฑิละไปพร้อมกับคุยโวว่า “แค่เสื้อผ้าไม่กี่ชิ้นก็ทำเป็นหวงไปได้” นางกาลีจึงสั่งคนรับใช้ว่า “เวลาลูกชายเศรษฐีจะกลับก็จงช่วยกันแย่งเสื้อผ้าเขาไว้นะ ค่อยให้เขากลับ” ตกลงวันนั้นลูกชายเศรษฐีต้องเดินเปลือยกายกลับบ้านไป พร้อมกับรอยยิ้มของคนผู้พบเห็น เขาประสบกับความอับอายเพราะคำพูดของเขาแท้ๆ

อีกเรื่องหนึ่งมีแพะสองตัวกำลังขวิดกันอยู่อย่างเมามันนกตัวหนึ่งบินมาร้องห้ามอยู่ใกล้ ๆ “ลุงอย่าขวิดกันเลยนะ เดี๋ยวหัวของพวกท่านจะแตกตายดอก” ร้องห้ามเท่าไร แพะทั้งสองก็ไม่ฟัง จึงร้องไปด้วยความโมโหว่า “ถ้าอย่างนั้น ก็ฆ่ากูเสียก่อนค่อยขวิดกัน” ว่าแล้วกระโดดเข้าไประหว่างเขาแพะทั้งสองตัวมันจึงถูกบดร่างแหลกไม่มีชิ้นดี นกนี่ก็ตายเพราะปากอีก

อีกเรื่องหนึ่ง เด็กเลี้ยงวัวกลุ่มหนึ่งเห็นผลตาลต้นหนึ่งจึงปีนขึ้นไปเก็บ ขณะกำลังปลิดผลตามทิ้งลงมาอยู่นั้นเอง มีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นต้นตาลนั้นไป พวกเด็กที่ยืนอยู่ข้างล่างพยายามไล่งูแล้วแต่ก็ห้ามไม่ได้จึงร้องตะโกนบอกพวกที่อยู่บนต้นตาลๆ กระโดดลงมาเร็ว ๆ” พร้อมกับจับผ้านุ่งผืนหนึ่งคนละมุม พวกขึ้นต้นตาลจึงทิ้งตัวลงตรงกลางผ้าผืนนั้น เป็นเหตุให้เด็ก 4 คนที่จับผ้าไว้หัวชนกันแตกตาย พวกนี้ก็ตายเพราะปากเหมือนกัน

อีกหนึ่งเรื่อง มีพวกโจรกลุ่มหนึ่งขโมยแพะได้ตัวหนึ่งในเวลากลางคืนแล้วจับมัดปากผูกไว้ที่ป่าไผ่แห่งหนึ่ง รุ่งขึ้นจึงชวนกันไปฆ่ามัน แต่ทุกคนกลับลืมนำเอามีดไปด้วย จึงพากันพูดว่า “บุญของมันยังมีอยู่ ปล่อยมันไปซะ” บังเอิญว่าเมื่อวานนีช่างสานคนหนึ่งตัดไม้ไผ่แล้ว คิดว่าจะมาตัดอีกในอีก 2 วัน จึงซุกมีดไว้ในกอไผ่นั้น แพะพอถูกปล่อยก็ดีใจไม่รีบหนีไปดีดเท่าหลังคะนองเล่นอยู่ เท้าได้ไปดีดเอาด้ามมีดโผล่ออกมา โจรเห็นมีดแล้วก็ช่วยกันฆ่าแพะนั้นเป็นอาหาร แพะตัวนี้ตายเพราะตนเองเหมือนกัน

อีกเรื่องหนึ่ง มีนายพรานคนหนึ่งจับกินนรผัวเมียคู่หนึ่งได้แล้วนำไปถวายพระราชา พร้อมทูลว่า “ขอเดชะ พวกนี้ร้องเพลงไพเรา ฟ้อนรำก็สวยงาม พวกมนุษย์ทำไม่ได้เหมือนเลยพระเจ้าข้า” พระราชาพอพระทัย ประทานรางวัลเป็นอันมากแก่นายพรานพร้อมตรัสกะกินนรทั้งคู่ว่า “พวกเจ้าจงร้องรำให้ดูสิ”กินนรเกรงจะร้องเพลงไม่ถูกต้องจะเป็นคำมุสาวาทจึงไม่ร้องรำพระราชาตรัสซ้าและซ้ำเล่าทรงกริ้วตวาดว่า “ทหาร..นำสัตว์พวกนี้ไปย่างเป็นอาหารมื้อเย็น ตัวหนึ่ง เป็นอาหารมื้อเช้าตัวหนึ่งเลี้ยงไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร”

นางกินนรีทราบว่าพระราชากริ้วแล้วจึงพูดขึ้นว่า “กินนรรังเกียจคำไม่ดีจึงไม่พูด ที่นิ่งเฉยนั้นมิใช่เพราะโง่เขลาดอก” พระราชาตรัสว่า “กินนรีตัวนี้พูดได้แล้ว ทหาร..จงนำมันไปปล่อยให้ถึงป่าที่อยู่เดิม ส่วนเกินนรตัวนั้นนำมันไปส่งโรงครัว ย่างมันเป้นอาหารเช้าในวันพรุ่งนี้” ฝ่ายกินนรเห็นว่าตัวเองต้องตายแน่จึงพูดขึ้นว่า “มหาราชเจ้า ฝูงปศุสัตว์พึ่งฝน ประชาชนพึ่งปศุสัตว์ พระองค์เป็นที่พึ่งของข้าพระบาท ภรรยาเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ ภรรยาเมื่อทราบว่าสามีตายแล้วค่อยไปภูเขา ที่ข้าพระบาทไม่พูดมิใช่จะขัดพระดำรัส แต่เพราะเห็นโทษของการพูดมาก จึงมิได้พูด พระเจ้าข้า” พระราชาทรงโสมนัสว่ากินนรตัวนี้เป็นบัณฑิตกล่าวถูกต้อง จึงรับสั่งให้นายพรานนำพวกมันกลับไปปล่อยยังที่อยู่ตามเดิม

ตักการิยะเมื่อนำเรื่องมาเปรียบเทียบแล้วพูดปลอบอาจารย์ว่า “อาจารย์ครับ กินนรทั้งคู่รักษาคำพูดของตนไว้และรอดชีวิตได้เพราะคำพูด ส่วนท่านมีความทุกข์เพราะคำพูด ท่านอย่ากลัวไปเลยผมจะให้ชีวิตท่านเอง” แล้วก็บอกพวกอำมาตย์ว่ายังไม่ได้ฤกษ์รอให้ถึง 3 ทุ่มก่อนฤกษ์ถึงจะดี จึงให้คนนำแพะตายตัวหนึ่งมาแทนที่พราหมณ์ แล้วประกอบพิธีบวงสรวงสร้างประตูในวันนั้น และได้ปล่อยพราหมณ์ปุโรหิตให้หนีไปอยู่ที่อื่น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี ควรพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และไพเราะเท่านั้น

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button