ประเพณี (tradition) เกิดจากความเชื่อ อาจเป็นความเชื่อในสิ่งที่ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ประเพณีมักเริ่มที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งก่อน เมื่อได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น ความเคยชินแล้ว และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี อาจชักชวนให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นปฏิบัติตาม หรือกลุ่มอื่นเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วปฏิบัติตามสืบต่อกันมา นิสัยหรือการปฏิบัติที่สืบทอดกันมานานก็กลายเป็นประเพณี
วัฒนธรรมประเพณี หมายถึง
ประเพณี คือ
พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี
คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่าง ๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้น ๆ ฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแปลกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ
วัฒนธรรม หมายถึง
รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
วัฒนธรรมประเพณีของชาติ ล้วนแสดงให้เห็นถึงแนวความคิด ความเชื่อ ที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิต ความเป็นมา ความสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมของไทย ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจึงมีความสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
- ความเป็นสิริมงคล ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น เป็นความเชื่อในเรื่องของความเป็นมงคลแก่ชีวิต
- ความรักความสามัคคี ความเสียสละ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องฝึกจิตใจให้รู้จักเป็นผู้เสียสละ จะเห็นได้จากงานบุญต่าง ๆ มกเกิดจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน เช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย ทำให้เกิดความรัก สามัคคี
- การมีสัมมาคารวะ ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างหนึ่ง แสดงถึงความนอบน้อม อ่อนโยน ความมีมารยาทไทย
- ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยทำให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงาม ถือว่าเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมได้อย่างหนึ่ง
- ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็มีความรู้สึกว่าทุกคนเป็นคนไทย มีความเป็นชาติเดียวกัน และสามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติได้
ประเพณีวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- จารีตประเพณี (Mores) คือ ประเพณีที่ต้องประพฤติเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม ถือกันว่ามีคุณค่าต่อบุคคลในสังคมนั้น ๆ ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม ถือเป็นความผิดความชั่วมีโทษ เช่น ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น
- ขนบประเพณี (Institution) คือ ประเพณีที่วางเป็นระเบียบไว้ จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โดยตรง เช่น เขียนเป็นกฎหรือระเบียบให้กระทำร่วมกันมีข้ออ้างอิงเป็นตัวบทกฏเกณฑ์ โดยอ้อม หรือโดยปริยาย คือ รู้กันเอง ถือสืบ ๆ กันมา คนในถิ่นนั้นปฎิบัติกันอย่างนั้น ๆ เช่น ประเพณีทำบุณเลี้ยงพระของไทย เป็นต้น
- ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมดาสามัญของสามัญชน ไม่ถือเอาผิดเอาถูก ไม่มีการลงโทษ ปรับไหมเหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี ผู้ทำผิดประเพณีนี้ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายหรือมีโทษมากนัก เพียงแต่ถือว่าผู้ผิดประเพณีเป็นผู้ไร้ีการศึกษา ขาดคุณสมบัติผู้ดี เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน อันไม่เหมาะสม เป็นต้น
ประเพณีที่พบเห็นในทุกภาคของไทย ได้แก่
- ประเพณีสงกรานต์ Songkarn Festival
- ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
- ประเพณีลอยเรือ
- ประเพณีแห่นางแมว
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
- ประเพณีลอยโคม
- ประเพณีบวชลูกแก้วหรือปอยส่างลอง
- ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- ประเพณีผีตาโขน
- ประเพณีแข่งเรือ
- ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
- ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
- ประเพณีการทอดผ้าป่า
- ประเพณีทอดกฐิน
- ประเพณีออกพรรษา ตักบาตรเทโว
- ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา หล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา
- ประเพณีตรุษสงกรานต์ 26 ประเพณีทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
- ประเพณีการทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ
- ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
- ประเพณีหมั้นและแต่งงาน
- ประเพณีบวช
- ประเพณีและพิธีโกนจุก
- ประเพณีบุญบั้งไฟ
- ประเพณีลอยกระทงสาย
- งานประเพณีลอยกระทง Loy Krathong
- ประเพณีวิ่งควาย
- ประเพณีแห่ปลา
- ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธตุวัดนางชี
ประเพณีไทย 4 ภาค
ประเพณีไทยเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่มีความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก เพราะความประณีต ความมีมนต์ขลัง และการสอดแทรกแนวคิดในการใช้ชีวิตเอาไว้ในประเพณีเหล่านั้น ที่สำคัญแต่ละภาคก็จะมีประเพณีเฉพาะท้องถิ่นที่ต่างกันไปอีกด้วย ลองมาดูกันว่าแต่ละภาคเป็นอย่างไรกันบ้าง
ประเพณีไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
- ประเพณีแห่ผีตาโขน Phi Ta Khon Festival
- ประเพณีแห่นางแมว (พิธีขอฝนของคนอีสาน)
- ประเพณีบุญเบิกฟ้า
- ประเพณีบุญผะเหวด
- งานประเพณีตีช้างน้ำนอง
- ประเพณีแซนโฎนตา
- ประเพณีทอดกฐิน
- ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
- ประเพณีบุญบั้งไฟ Rocket Festival
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา Candle Festival
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- ทอดผ้าป่ากลางน้ำ
- เทศกาลผลไม้
- ทำบุญกลางทุ่ง
- ทอดผ้าป่าโจร
ประเพณีไทยภาคใต้
- ประเพณีให้ทานไฟ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- ประเพณีลากพระ
- ประเพณีอาบน้ำคนแก่
- ประเพณีสวดด้าน
- ประเพณีแห่นางดาน
- ประเพณีกวนข้าวยาคู
- ประเพณียกขันหมากพระปฐม
- ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ประเพณีไทยภาคกลาง
- ประเพณีตักบาตรดอกไม้ Festival of Floral Offerings
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์
- ประเพณีตักบาตรเทโว
- ประเพณีทำขวัญข้าว
- ประเพณีกำฟ้า
- ประเพณีโยนบัว
- ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ Candle Festival
ประเพณีไทยภาคเหนือ
- ประเพณียี่เป็ง
- ประเพณีทานขันข้าว
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
- ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
- ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
- ประเพณีสลากภัต
วัฒนธรรมไทย 1 ปี มีอะไรบ้าง
ชาติไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรื่องมาช้านาน มีขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหลาก หลายในสังคมไทยที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ ของมนุษย์ที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิตของตนเอง ครอบครัวและสังคม เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษยึดถือเป็นแนว ปฏิบัติและมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาในรูปของความเชื่อ ศีลธรรมจรรยา ค่านิยม รวมทั้งพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมจนกลายเป็น สัญลักษณ์ของชาติไทย
ประเพณีไทยเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นใช้ร่วมกันในหมู่ สมาชิก เป็นเครื่องหมายบอกความเป็นพวกเดียวกันของพวกที่ยึดถือในประเพณีเดียวกัน ประเพณีไทยจัดว่าเป็นวัฒนธรรมไทยประจำชาติหรือเป็นเอกลักษณ์ของสังคม แสดงว่า สังคมนั้นมีความเจริญมาตั้งแต่อดีตหรือมีลักษณะเฉพาะของตนมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีประเพณี เป็นของตนเองจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และประเพณีไทยยัง มีส่วนสนับสนุนให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นสิ่งเชื่อมโยงให้คนในสังคมมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยัง เป็นรากฐานของกฎหมายของประเทศ
วัฒนธรรมไทยเดือนมกราคม
- ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
- งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาด จังหวัดสุพรรณบุรี
- งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่
- งานเทศกาลอาหารและผลไม้นครปฐม จังหวัดนครปฐม
- งานกาชาดและงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง จังหวัดมุกดาหาร
- งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและศิลปวัฒนธรรมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด
วัฒนธรรมไทยเดือนกุมภาพันธ์
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ประเพณีนบพระเล่นเพลงและฉลองมรดกโลก จังหวัดกำแพงเพชร
- ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่
- งานนมัสการพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
- งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
- งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
- งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี
- มหกรรมโปงลางแพรวา และงานกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์
- บุญเบิกฟ้าและกาชาด จังหวัดมหาสารคาม
- งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
- วันมะปรางหวาน และของดีที่นครนายก จังหวัดนครนายก
- วันวีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
- ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
- งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน มะขามหวามเมืองเลย จังหวัดเลย
- มหกรรมหุ่นฝางนก งานของดี และงานกาชาด จังหวัดชัยนาท
- งานเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- งานพระนครคีรีเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรี
- งานไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเชียงใหม่
- งานสะโตกช้างลำปาง จังหวัดลำปาง
วัฒนธรรมไทยเดือนมีนาคม
- ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
- งานโลกทะเลชุมพร จังหวัดชุมพร
- งานวันตราดรำลึก จังหวัดตราด
- งานสัปดาห์องุ่นหวาน และตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
- งานเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ จังหวัดอ่างทอง
- ประเพณีเผ่าไทศรีสะเกษและเทศการดอกลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ
- เทศกาลว่าวนานาชาติ จังหวัดกรุงเทพ
- งานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
- เทศกาลอนุรักษ์เต่าทะเล จังหวัดพังงา
- มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน จังหวัดยะลา
วัฒนธรรมไทยเดือนเมษายน
- ประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- ประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี
- วันแคนตาลูปและของดีเมืองอรัญ จังหวัดสระแก้ว
- ประเพณีสงกรานต์ชาวรามัญ จังหวัดนนทบุรี
- วันอนุรักษ์มรดกไทยและมหกรรมชิงแชมป์หนังตะลุง จังหวัดปัตตานี
- ประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลดอกคูน-เสียงแคน จังหวัดขอนแก่น
- ประเพณีสงกรานต์และงานล้านนาไทยในอดีต จังหวัดเชียงใหม่
- ประเพณีสงกรานต์พัทยา จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
- ประเพณีบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย
- ประเพณีสลุงหลวงเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
วัฒนธรรมไทยเดือนพฤษภาคม
- ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
- เทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
- งานวันเกษตรและของดี จังหวัดปราจีนบุรี
- เทศกาลผลไม้และของดี จังหวัดระยอง
วัฒนธรรมไทยเดือนมิถุนายน
- ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดหนองบัวลำภู
- ประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย
- วันระกำหวานและผลไม้เมืองตราด จังหวัดตราด
- เทศกาลของดีเมืองจันท์วันผลไม้ จังหวัดจันทบุรี
- งานวันสุนทรภู่ จังหวัดระยอง
- เทศการวันทุเรียนโลก จังหวัดจันทบุรี
วัฒนธรรมไทยเดือนกรกฎาคม
- ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี
- พัทยามาราธอน จังหวัดชลบุรี
- งานแข่งขันแคนูและเทศกาลของดี จังหวัดนครนายก
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
วัฒนธรรมไทยเดือนสิงหาคม
- เทศกาลลำไยและของดีเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- เทศการล้านนาพฤกษาชาติ จังหวัดเชียงใหม่
- งานส้มโอชัยนาท จังหวัดชัยนาท
- งานวันผลไม้หลังสวน จังหวัดชุมพร
- วันเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรัง
วัฒนธรรมไทยเดือนกันยายน
- ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
- ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดสิงห์บุรี
- เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จังหวัดตรัง
- เทศกาลถือศีลกินเจ จังหวัดตรัง
- ประเพณีสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ประเพณี แข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร
- เทศกาลลางสาดหวาน และมหกรรมของดีเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ จังหวัดสงขลา
- ประเพณีแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิษณุโลก
- เทศการของดีเมืองนราฯ จังหวัดนราธิวาส
- การแข่งขันเรือกอและ ชิงถ้วยพระราชทานหน้าพระที่นั่ง จังหวัดนราธิวาส
วัฒนธรรมไทยเดือนตุลาคม
- ประเพณีกินผัก จังหวัดภูเก็ต
- ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
- ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี
- ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัดพัทลุง
- ประเพณีจองพารา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดปราจีนบุรี
- งานฉลองมรดกโลกบ้านเชียง 5,000 ปี จังหวัดอุดรธานี
- ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน
- ประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งและแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดสกลนคร
วัฒนธรรมไทยเดือนพฤศจิกายน
- ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
- งานประเพณีโคมยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่
- ประเพณีลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- แข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก
- เทศกาลดอกบัวตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดบุรีรัมย์
- เทศกาลเที่ยวพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- ประเพณีล่องสะเปาจาวเวียงละกอน จังหวัดลำปาง
- งานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์
- งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
- เทศกาลอาหารหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- เทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น
- งานจัดเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จังหวัดลพบุรี
- งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
- งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จังหวัดกระบี่
วัฒนธรรมไทยเดือนธันวาคม
- ประเพณีฮีตสิบสองและงานกาชาด จังหวัดอำนาจเจริญ
- งานมหกรรมว่าวอีสาน
- งานขึ้นปล่องภูเขาไฟ จังหวัดบุรีรัมย์
- งานอยุธยามรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- มหกรรมอาหาร จังหวัดเชียงใหม่
- งานตากสินมหาราชานุสรณ์และกาชาด จังหวัดตาก
- งานแร่นองทะเลทองอันดามัน จังหวัดระนอง
- ประเพณีแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดภูเก็ต