บทสวดมนต์ก่อนนอน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธมานานหลายศตวรรษ เชื่อกันว่าการสวดมนต์ก่อนนอนจะช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย และนอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน บทสวดมนต์ก่อนนอนมีให้เลือกมากมาย ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของแต่ละบุคคล
ในบทความนี้ เราจะรวบรวมบทสวดมนต์ก่อนนอนยอดนิยม ให้คุณได้เลือกสวดมนต์ตามสะดวก บทสวดมนต์เหล่านี้ล้วนมีความหมายดีงาม และช่วยเสริมสร้างจิตใจให้ผ่องใส ช่วยให้คุณนอนหลับอย่างมีความสุขและสบายใจ
รวมบทสวดมนต์ก่อนนอน
บทสวดมนต์ บทสวดมนต์ก่อนนอนสวดแล้วชีวิตดีขึ้น บทสวดมนต์เช้า บทสวดแผ่เมตตา บทสวดมนต์อิติปิโส บทสวดมนต์ชินบัญชร สวดเสริมสิริมงคล เสริมดวง เสริมบุญบารมี ชีวิตดีเจริญก้าวหน้า เสริมโชคลาภ
กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (กราบ 3 ครั้ง)
คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ (3 ครั้ง)
บทสวดมนต์ก่อนนอน บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
บทสวดมนต์ก่อนนอน นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)
บทสวดมนต์ก่อนนอน อาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
บทสวดมนต์ก่อนนอน ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (6 ครั้ง)
บทสวดมนต์ก่อนนอน สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
บทสวดมนต์ก่อนนอน อธิษฐานรักษาศีล 5
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม
บทสวดมนต์ก่อนนอน ศีล 5
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (กล่าว 3 จบ)
บทสวดมนต์ก่อนนอนแผ่เมตตาแก่ตนเอง
กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
อะหัง นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาทเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
บทสวดมนต์ก่อนนอนแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทสวดมนต์ก่อนนอนบทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดาของข้าพเจ้า ขอให้บิดามารดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของรข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
บทสวดแผ่เมตตา
รวมบทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา ทั้งบทแผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง บทแผ่เมตตาไปสู่ผู้อื่น บทแผ่เมตตาทั่วไป คาถาแผ่ส่วนกุศล และบทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
บทแผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
อะหัง นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาทเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
บทแผ่เมตตาไปสู่ผู่อื่น
สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ นิททุกขา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิดฯ
บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
คาถาแผ่ส่วนกุศลแผ่เมตตาทั่วไป
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้า ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ
บทสวดมนต์อิติปิโส
บทสวดมนต์อิติปิโส (คำบูชาพระรัตนตรัย)
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังคัง นะมามิ (กราบ)
บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (3 ครั้ง)
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
บทสวดมนต์ชินบัญชร
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด
เริ่มสวด นโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (3 ครั้ง)
นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)
บทพระคาถาชินบัญชร
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
คำแปล: พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคืออริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
คำแปล: มี 28 พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
คำแปล: ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
คำแปล: พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
คำแปล: พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
คำแปล: มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
คำแปล: พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
คำแปล: พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
คำแปล: ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
คำแปล: พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
คำแปล: พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
คำแปล: อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
คำแปล: ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
คำแปล: ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คำแปล: ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
บทสวดมนต์เช้า
กราบพระ 3 ครั้ง โดยให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (3 ครั้ง)
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ
ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ (6 ครั้ง)
ข้าพเจ้าขอเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก แม้ครั้งที่ 1 แม้ครั้งที่ 2 แม้ครั้งที่ 3
สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
บทสวดมนต์อิติปิโส
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่าวิญญูฮีติ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
อะหัง นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาทเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
คำแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพญาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้เทอญฯ
สวดมนต์
การสวดมนต์ เป็นการทำให้จิตมีสมาธิอยู่กับบทสวดมนต์ และพระเบื้องหน้า (หากสวดมนต์ต่อหน้า พระพุทธต่าง ๆ) นอกจากนี้ยังได้อนิสงค์จากพุทธคุณของพระคาถาต่าง ๆ ที่เราอ่านหรือเปล่งวาจาออกไป และพระคาถาต่าง ๆ ล้วนเป็นถ้อยคำมงคล ทำให้เกิดศิริมงคลแต่ตัวผู้เปล่งวาจา และผู้ที่ได้ยิน คนโบราณ เชื่อกันว่าหมู่เทวดาชอบฟังธรรมะ และเสียงสวดมนต์ และจะอวยพรอันเป็นมงคลแก่ผู้เปล่งวาจานั้น ๆ
การสวดมนต์นั้นก่อนสวดควรทำจิตใจให้สงบ ไม่ว่าจะสวดมนต์ด้วยเหตุผลใดก็ตาม จิตใจต้องนิ่ง และเปล่งเสียง อย่างปกติ ไม่ต้องเร่งประชั้น หรือ พูดรัวจนตนเองยังฟังไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เรียกว่าสวดแบบขอไปที ถ้าจะเร็วก็ขอให้เร็ว พอประมาณให้ตนเองสามารถแยกคำได้ในใจก็ยังดี แต่ก้ไม่จำเป้นต้องสวดช้าจนยานคางเอาแต่พอเหมาะเป็นดีที่สุด
การสวดมนต์นั้น ใครนิยมพระคาถาบทไหน ก็ถือว่าดีทั้งนั้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องการแนวทางการสวดมนต์ ตามแบบพิธีกรรมไทยโบราณ ก็มีดังนี้
- เริ่มด้วยการกราบสักการะบูชา จะกราบ 3 ครั้ง 5 ครั้ง หรือ 9 ครั้ง อันนี้แล้วแต่ศรัทธา โดยปกติกราบพร้อมบทมนัสการคุณพระรัตนตรัย คือ อะระหังสัมมา
- บทต่อมาคือการอาราธนาศีล เพื่อชำระจิตใจให้พ้นจากกิเลส และกล่าวศีลห้า
- ก่อนสวดมนต์บทต่อไปคนโบราณนิยมให้กล่าวขอขมากรรม แก่พระรัตนตรัย บิดามารดา ครูอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร ในทุกภพทุกชาติ
- เริ่มด้วยการสวดถวายพรพระ ที่เราเรียกว่า อิติปิโส แล้วต่อด้วย พาหุงฯ มหาการุณิโกฯ
- บทสวดมนต์ต่อมากรณีที่ตั้งใจจะสวดมนต์บทยาวอย่างน้อยหนึ่งบท ก็คือ บทชุมนุมเทวดา อัญเชิญเทวดามาร่วมกันสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย และอำนวยอวยพรแก่เรา
- บทสวดมนต์ควรเรียงตามความสำคัญ คือ บทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามากก่อน บทเกี่ยวกับพระธรรม บทเกี่ยวกับพระสงฆ์ บทสรรเสริญคุณบิดามารดา ครูอาจารย์ เทพเทวา เรียงกันมาตามลำดับ
- บทต่อมาคือบทขอพรต่าง ๆ สุดแท้จะปรารถนาเลยครับ
- ควรปิดท้ายด้วยอุทิศบุญที่สำเร็จจากการสวดมนต์นี้แก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
- หากมีการกล่าวอัญเชิญเทวาดามาร่วมชุมนุม ควรสวดมนต์กล่าวอัญเชิญเทวดากลับ (ทุกขัปปัตตา)
- จบด้วยการกราบ เหมือนกับตอนที่เริ่ม
การสวดมนต์
ได้ความเป็นสิริมงคล
ได้ความเป็นสิริมงคล บางครั้งเราสวดเอง บางครั้งเราเป็นผู้ฟัง จุดประสงค์ก็เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิตของเรา เช่น บทสวดมงคลสูตร จะทำให้เราเข้าในเรื่องมงคลในพุทธศาสนา ปฏิบัติตนตามหลักการดำเนินชีวิตจนประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นแหละ คือ มงคลแห่งชีวิตของเรา
ธรรมะจะเป็นพี่พึ่งของเราได้ก็ต่อเมื่อเรานำมาใช้ ถ้าไม่นำมาใช้หรือไม่ปฎิบัติตาม ธรรมะก็ไม่เกิดผล มนุษย์ทุกคนต้องการที่พึ่ง แต่ที่พึ่งที่แท้จริงก็คือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
ส่วนที่พึ่งอื่นไม่สามารถช่วยเราได้ ทุกครั้งที่เราน้อมศรีษะก้มลงกราบต่อหน้าพระพุทธรูปนั้น ให้ทำความรู้สึกว่า… เรานั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ขณะเดียวกันความคิดฟุ้งซ่านวิตกกังวล สงบระงับลงไป ความเป็นสิริมงคลก็จะเกิดในตอนนี้เอง
ได้รักษาตนจากโรคภัย
ได้รักษาตนจากโรคภัย เช่น บทโพชฌงค์ที่มีประวัติในการรักษาคนป่วย ช่วยรักษาความเครียด ทำให้เราเกิดความสบายใจ เมื่อใจเราเป็นกุศลเพียงแค่การสวดมนต์ก็จะเกิดผลมหาศาล
หากเราทำดีมากพอ ความดีก็จะตอบสนองเราเองโดยไม่มีเงื่อนไข การสวดมนต์หรือปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน อย่ารอให้มีทุกข์แล้วค่อยปฏิบัติธรรม หรืออย่ารอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนิมนต์พระมาสวดโพชฌงค์ให้ฟัง เพื่อหายป่วย เพราะอาจเป็นการฟังครั้งสุดท้ายของเรา ทั้งที่รู้สึกดีและเสียดาย
เพราะถ้าไม่ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มากเพียงพอ เมื่อกรรมส่งผลเราจะทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ถ้ามีกุศลสั่งสมไว้มาก ก็จะช่วยให้เราผ่านพ้นเรื่องราวร้าย ๆ ต่างไปได้ ถึงจะบาดเจ็บบ้างแต่ก็ไม่ถึงตาย ยังมีใจให้เหลือไว้นึกถึงการสวดมนต์
ได้ปลอดภัยจากศัตรู
ได้ปลอดภัยจากศัตรู การสวดมนต์มีอานิสงส์ช่วยป้องกันภัยอันตรายได้ เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
ได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ผู้ที่จำบทสวดมนต์ได้นั้น นอกจากจะมีความจำดีแล้ว ยังแสดงว่า… มีการบริหารหน่วยความจำในสมองได้อย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดความเครียดหรือกังวล เราก็ผ่อนคลายด้วยการสวดมนต์บ้าง เดินจงกรมบ้าง หามุมสงบๆ เพื่อนั่งสมาธิบ้าง จะทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้นมา แทนการสูบบุรี่หรือดื่มเหล้า เพื่อระบายความเครียด
ได้บำเพ็ญภาวนา
ได้บำเพ็ญภาวนา เมื่อเราทำวัตรทุกเช้า-เย็น และสวดมนต์ทุกวัน เป็นการสวดยกย่องความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นการชำระจิตใจให้สงบไปในตัว ได้สติสัมปชัญญะ
ได้ศึกษาธรรมะ
ได้ศึกษาธรรมะ การสวดมนต์เป็นการศึกษาภาษาบาลีไปในตัว ธรรมะบางข้อเราเข้าใจรู้ได้จากบทสวดมนต์ เป็นการเจริญปัญญาบารมี
ได้ลดละจากความชั่ว
ได้ลดละจากความชั่ว เป็นการทบทวนตักเตือนตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นพระสงฆ์ก็จะได้เตือนตนว่า… เราประพฤติตนสมควรแก่การกราบไหว้แล้วหรือยัง เหมาะสมแก่การรับสักการะจากชาวบ้านหรือยัง
ได้ส่งเสริมความสามัคคี
ได้ส่งเสริมความสามัคคี การสวดมนต์เป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ เป็นธรรมเนียมของชาวพุทธ เมื่อมีการสวดมนต์เป็นหมู่เป็นคณะ ยิ่งมีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ แสดงออกถึงความพร้อมเพรียงกันของชาวพุทธในการระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อได้สวดมนต์พร้อมเพรียงกัน เสียงมนต์ย่อมมีพลัง คนได้ฟังก็อยากเข้ามาสวดด้วย เสียงที่สวดประสานกัน ย่อมเกิดความไพเราะจับใจ
ได้สร้างบารมีใหักับตัวเอง
ได้สร้างบารมีใหักับตัวเอง การทำวัตรสวดมนต์นั้น ได้ส่งผลดีต่ออีกหลายคน ที่กำลังกลุ้มใจหาทางออกไม่เจอ หรือกำลังทุกข์หนักเรื่องใดก็ตาม
การสวดมนต์ก่อนนอนเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ นอกจากจะช่วยให้จิตใจสงบ นอนหลับสบายแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจบทสวดมนต์ก่อนนอน สามารถอ่านบทสวดมนต์เพิ่มเติมได้ตามเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ หรือหากต้องการฟังเสียงสวดมนต์ สามารถค้นหาได้ใน YouTube หรือ Spotify เป็นต้น
ภาพจาก – Japex Warna
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
- คาถาบูชาพ่อแม่ สวดมนต์ให้ผู้ที่ล่วงลับ ชีวิตจะดีมีแต่โชค!
- 9 บทสวดมนต์ข้ามปี พร้อมสถานที่สวดมนต์ข้ามปี
- คาถาบทสวดมหาจักรพรรดิ แผ่กุศลให้เจ้ากรรมนายเวร!
- 100 แคปชั่นทําบุญตักบาตร เรียกไลก์เพียบ!