ความรู้ Tech

20 อันดับ Google Doodle ยอดนิยมในประเทศไทย

Google Doodle คือการเปลี่ยนโลโก้ของ Google ทำเพื่อเฉลิมฉลองวันหยุด วันคล้ายวันเกิด และชีวิตของศิลปิน นักบุกเบิก และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย โดย Google มีทีมงานนักออกแบบภาพที่เรียกว่า Doodler และวิศวกรเป็นผู้อยู่เบื้องหลังผลงาน Doodle กว่า 2,000 ชิ้นในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

Advertisement

Google Doodle ที่มา

ในปี 1998 แนวคิดในเรื่อง Doodle เกิดขึ้นเมื่อผู้ก่อตั้ง Google แลร์รี่และเซอร์เกย์เล่นสนุกกับโลโก้ขององค์กรเพื่อแจ้งข่าวว่าเขาทั้งสองได้เข้าร่วมในเทศกาล Burning Man ที่ทะเลทรายเนวาดา พวกเขาใส่ภาพวาดรูปแท่งไม้หลัง “o” ตัวที่สองในคำว่า Google และตั้งใจให้โลโก้นี้เป็นข้อความเชิงตลกขบขันที่บอกผู้ใช้ Google ว่าในขณะนั้นผู้ก่อตั้ง “ไม่อยู่ในออฟฟิศ” แม้ doodle ภาพแรกจะค่อนข้างเรียบง่าย แต่แนวคิดในเรื่องการปรับแต่งโลโก้ของบริษัทเพื่อร่วมฉลองเหตุการณ์สำคัญ ๆ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

สองปีต่อมา (ปี 2000) Larry และ Sergey ได้ขอให้ Dennis Hwang ผู้ดูแลเว็บคนปัจจุบัน โดยในเวลานั้นยังเป็นนักศึกษาฝึกงาน ช่วยออกแบบ doodle สำหรับวันชาติฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากผู้ใช้ของเรา จนกระทั่ง Dennis ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมนักออกแบบ doodle ของ Google จากนั้น doodle ก็เริ่มปรากฏโฉมบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ ในหน้าแรกของ Google ในช่วงแรก doodle มักจะถูกใช้เพื่อร่วมฉลองเทศกาลวันหยุดที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทุกวันนี้ doodle เน้นเหตุการณ์และวันครบรอบต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น นับตั้งแต่วันคล้ายวันเกิดของ John James Audubon ไปจนถึง Ice Cream Sundae

Thailand’s top 20 Google Doodles TH

Google Doodle ยอดนิยม

ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของ Google Search Google ได้รวบรวม 20 อันดับ Doodle ยอดนิยมในไทย ซึ่งมีดังต่อไปนี้

Advertisement

เทศกาลสงกรานต์

เทศกาลสงกรานต์

พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ

วันลอยกระทงปี

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญทางศาสนาฮินดูวันหนึ่งของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ บางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปี พ.ศ. 2544 วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม และจะมาตรงกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น ประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ในงานไหลเฮือไฟของลาว ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงหลวงกลางเดือน 11 ราษฎรจะทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารลงไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วยเช่นกัน โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศพม่า ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำกระทงตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในแหล่งน้ำ ส่วนในพื้นที่ติดทะเลก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา

เทศกาลบุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะ ที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงาน ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ในสัปดาห์แรก ของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มี บั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่ มีการจัดงาน ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิม ตาม ฮีตสองสอง คองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวาย มากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปี จะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง

วันเกิดปีที่ 224 ของสุนทรภู่

วันเกิดปีที่ 224 ของสุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 – พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

วันแม่

วันแม่แห่งชาติ (Mother’s Day) ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย นับว่าเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 9 หรือแม่ของแผ่นดิน และยังถือว่าวันแม่แห่งชาตินี้เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย

วันช้างไทยปี

วันช้างไทย

วันช้างไทย ริเริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ถ ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและวันเกษตรกร

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและวันเกษตรกร

ในประเทศไทย การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้นประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันเกิดปีที่ 86 ของคุณรัชนี ศรีไพรวรรณ

วันเกิดปีที่ 86 ของคุณรัชนี ศรีไพรวรรณ

รัชนี ศรีไพรวรรณ (สกุลเดิม: อัมพานนท์; 11 มีนาคม พ.ศ. 2473 — 15 เมษายน พ.ศ. 2557) เป็นข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์ระดับ 8 สาขาวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป จากผลงานเขียนเรื่อง มานะ มานี ปิติ ชูใจ ที่ใช้เป็นแบบเรียนวิชาภาษาไทย ในโรงเรียนประถมทั่วประเทศ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 – 2537 อันเป็นผลงานซึ่งเป็นที่ยกย่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ยังมอบรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2556 ให้แก่เธอ

วันเกิดปีที่ 124 ของศิลป์ พีระศรี

วันเกิดปีที่ 124 ของศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน

วันเฉลิมฉลองอาจารย์เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

วันเฉลิมฉลองอาจารย์เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ (28 มกราคม พ.ศ. 2469 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) ประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี

วันเกิดปีที่ 88 ของคุณปยุต เงากระจ่าง

วันเกิดปีที่ 88 ของคุณปยุต เงากระจ่าง

ปยุต เงากระจ่าง (1 เมษายน พ.ศ. 2472 — 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) เป็นบรมครูด้านการ์ตูนเคลื่อนไหวของไทย อาจารย์วิทยาลัยเพาะช่าง และผู้กำกับหนังการ์ตูนขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศไทย สุดสาคร รวมไปถึงเป็นผู้นำเอาการ์ตูนเข้าไปใช้ในภาพยนตร์โฆษณา ทำให้เกิดงานสร้างสรรค์หลายๆ ชิ้น เช่น ภาพยนตร์โฆษณาแป้งเย็นควีนนา (กระจกวิเศษ), นกกระสากับเด็กในโฆษณายาน้ำยี่ห้อหนึ่ง และ ยาหม่อง เป็นต้น

วันเกิดปีที่ 107 ของ ป. อินทรปาลิต

วันเกิดปีที่ 107 ของ ป. อินทรปาลิต

ป. อินทรปาลิต เป็นนามปากกาของ ปรีชา อินทรปาลิต (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 – 25 กันยายน พ.ศ. 2511) เป็นนักเขียน แนวหัสนิยาย บันเทิง ผลงานที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ พล นิกร กิมหงวน หรือ สามเกลอ

วันเกิดปีที่ 112 ของคุณลมุล ยมะคุปต์

วันเกิดปีที่ 112 ของคุณลมุล ยมะคุปต์

นางลมุล ยมะคุปต์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะขนานนามให้ท่านด้วยความ เคารพรักอย่างยิ่งว่า “คุณแม่ลมุล” เป็นธิดาของร้อยโท นายแพทย์จีน อัญธัญภาติ กับ นางคำมอย อัญธัญภาติ (เชื้อ อินต๊ะ) เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2448 ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไป ราชการสงครามปราบกบฏเงี้ยว (กบฏ จ.ศ.1264 ปีขาล พ.ศ. 2445)

แสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่าน เคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิต พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลายบัว พระพันวษา เป็นต้น

ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง รำกิ่งไม้เงินทอง ระบำกลอง ระบำฉิ่ง ระบำนกยูง ระบำกฤดาภินิ หาร ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำอธิษฐาน ระบำในน้ำมีปลา ระบำระฆัง ระบำนกสามหมู่ ระบำเชิญพระขวัญ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนแพน ฟ้อนแคน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์ เป็นต้น

วันเกิดปีที่ 136 ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ

วันเกิดปีที่ 136 ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ

รองเสวกเอก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2497) นักดนตรีชาวไทย ผู้มีชื่อเสียงจากการเล่นเครื่องดนตรีไทย และประพันธ์เพลงไทยเดิม

วันครบรอบ 55 ปีของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 11 อำเภอ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา; อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี; อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก; และอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน”

วันเกิดปีที่ 57 ของพุ่มพวง ดวงจันทร์

วันเกิดปีที่ 57 ของพุ่มพวง ดวงจันทร์

พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง ชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง

พุ่มพวงเกิดในครอบครัวที่ยากจนมาก และเรียนจบเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้อ่านหนังสือไม่ออก แต่มีความจำดีและมีความสามารถด้านการร้องเพลงจึงทำให้ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งได้เข้ามาทำการแสดงที่วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเป็นบ้านของเธอได้เห็นแววความสามารถของเธอจึงรับไปเป็นบุตรบุญธรรม

เธอมีเพลงดังในวงการมากมาย เช่น นักร้องบ้านนอก, กระแซะเข้ามาซิ, อื้อหือหล่อจัง, หนูไม่รู้, หัวใจถวายวัด, ขุดดินแช่ง, ขอให้รวย, หม้ายขันหมาก, อนิจจาทิงเจอร์, เสียสาวเมื่ออยู่ ม.ศ. ฯลฯ และทุกเพลงก็ประสบความสำเร็จ

วันเกิดปีที่ 85 ของแม่ประยูร ยมเยี่ยม

วันเกิดปีที่ 85 ของแม่ประยูร ยมเยี่ยม

ประยูร ยมเยี่ยม เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเพลงลำตัด ในนาม “ลำตัดแม่ประยูร” เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดนนทบุรี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดสาลวัน จังหวัดนครปฐม

แม่ประยูรเป็นผู้ริเริ่มนำการแสดงลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ท และวิดีโอเทป ออกจำหน่าย เคยออกเทปเพลงแปลงร่วมกับ บุญธรรม พระประโทน เป็นแขกรับเชิญให้กับ ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ต “แบบ เบิร์ด เบิร์ด” ตอน แบบเบิร์ด เบิร์ด อีกแบบ ในปี พ.ศ. 2530 และตอน ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด ในปี พ.ศ. 2534 สามารถนำการแสดงลำตัดไปเผยแพร่ในต่างประเทศ และเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ด้วยรูปแบบความบันเทิงอย่างสนุกสนานและแยบคาย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่และรักษาเพลงพื้นบ้านของไทยเอาไว้ เพื่อถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ให้แก่รุ่นหลานรวมทั้งนิสิตนักศึกษา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด) ประจำปี พ.ศ. 2537

แม่ประยูร ยมเยี่ยม ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจกำเริบ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอายุได้ 77 ปี

ที่มา – Google Thailand Blog

Advertisement

Advertisement

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button