ตรุษจีนเป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมจีน สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะต้องกลับมาบ้าน เพื่อมาฉลองตรุษจีนและนั่งโต๊ะรับประทานอาหารร่วมกัน ในตำนานของต้นกำเนิดของเทศกาลตรุษจีน เหนียน เป็นสัตว์ประหลาดตัวใหญ่ที่มักจะอาละวาดออกมาจับผู้คนกินเป็นอาหาร ในคืนวันก่อนวันตรุษจีน ผู้คนจะซ่อนตัวอยู่ในบ้านของพวกเขาเตรียมงานฉลองให้กับบรรพบุรุษและเทพเจ้า
เทศกาลตรุษจีน มีความยาว 15 วัน! นับเป็นวันหยุดที่ยาวที่สุดและผู้คนก็ใช้ประโยชน์จากการหยุดพัก ทำกิจกรรมกับครอบครัวพักผ่อนที่บ้านดูทีวี พร้อมขนมไหว้ตรุษจีน
ขนมตรุษจีน
วันตรุษจีน ต้องเตรียมของไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษ เป็นเทศกาลที่คนจีนจะได้พบปะกับครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา และเพื่อความเป็นสิริมงคล ต้องเตรียมอาหารที่ไหว้เจ้า ด้วยอาหาร ผลไม้ และขนมไหว้ตรุษจีนต่าง ๆ ที่มีความหมายมงคลต่อชีวิต
- 10 เรื่องน่ารู้วันตรุษจีน เสริมมงคลรับปีใหม่จีน
- อาหารวันตรุษจีน 8 อาหารมงคล กินแล้วเฮง!
- เทศกาลโคมไฟ เทศกาลเฉลิมฉลองตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
1. ขนมเข่ง
มีเรื่องเล่าตำนานของขนมเข่ง เล่าไว้ว่า สมัยก่อนมีเทพเจ้าจีนซึ่งคอยปกปักรักษามนุษย์ มีหน้าที่ต้องขึ้นไปรายงานความดีและความชั่วที่ของมนุษย์ให้กับองค์เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ พอในช่วงก่อนที่จะถึงวันตรุษจีน ก็มีมนุษย์ที่ไม่ค่อยได้ทำความดีก็หัวหมอ ได้คิดทำขนมเข่งขึ้นมาให้กับเทพเจ้าได้กิน เพื่อหวังให้ขนมเข่งช่วยปิดปากเทพเจ้าให้ไม่สามารถรายงานความชั่วได้ เพราะขนมเข่งมีลักษณะเหนียวหนืด เมื่อเคี้ยวในปากแล้วจะพูดไม่ถนัด เพราะขนมนี้ทำจากแป้งกวนกับน้ำตาลทรายแล้วนำไปนึ่งจนสุก มนุษย์นี้เข้าใจคิดจริงๆ
มีอีกเรื่องเล่าว่า ขนมเข่งเป็นขนมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ชาวจีนอพยพมาเมืองไทย และต้องการอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นานจึงมีการเริ่มทำขนมเข่งขึ้นมา เพราะว่าขนมเข่งที่นึ่งจนสุกแล้วสามารถเก็บได้นาน ไม่เสียง่าย จนขนมเข่งกลายเป็นขนมสำคัญของคนจีน และเพื่อทำให้ระลึกถึงช่วงชีวิตที่ยากจน เร้นแค้นและยากลำบาก ชาวจีนจึงนำขนมเข่งมาเซ่นไหว้แด่บรรพบุรุษ (วันสารทจีน) และเทพเจ้า (วันตรุษจีน)
ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต
2. ขนมเทียน
ขนมเทียนเป็นเป็นขนมไหว้เจ้าอีกชนิดหนึ่ง ก็มีต้นกำเนิดมาจากการดัดแปลงขนมเข่งเช่นกัน โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวน และใส่ไส้ถั่วบด ผสมกับเครื่องปรุง กลายเป็นไส้เค็ม จากนั้นห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ คล้ายทรงเจดีย์ แล้วนำไปนึ่งจนสุก
ขนมเทียนมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ชื่อหลัก และนิยมใช้จะเป็นขนมเทียน ส่วนชื่อที่มักเรียกต่าง ได้แก่ ขนมจ๊อก ทางภาคเหนือ ส่วนทางภาคกลางเรียก ขนมนมสาว และภาคอีสานเรียก ขนมหมก ขนมเทียนจะมีวิธีทำคล้ายกับขนมเข่งที่ชาวจีนไว้ไหว้เจ้า แต่แตกต่างกันที่การห่อทับด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีไส้หวานที่ทำจากมะพร้าวขูดฝอยผัดเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ และไส้เค็มที่ทำจากถั่วเหลืองบดแล้วนำมาผัดเกลือกับพริกไทยเพื่อให้ได้รสชาต
ขนมเทียน หมายถึง มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลม มีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
3. ขนมไข่
ขนมไข่ ชาวจีนนิยมเรียกว่า “หนิงก๊วย” เชื่อว่า ไข่ มีความมงคล เพราะเป็นต้นกำเนิดของการเกิด ดังนั้นการไหว้ด้วยขนมไข่จึงสื่อถึงการได้เกิดและการเจริญเติบโต
ขนมไข่ หมายถึง ความเจริญเติบโต
4. ขนมถ้วยฟู
ชาวจีนเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวดโก้ย หมายถึง มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู จึงเป็นอีกขนมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในงานมงคล ชาวจีนและชาวไทย นิยมนำไปไหว้เจ้า หรือประกอบพิธีงานมงคลต่างๆ ในงานแต่งงานนิยมทำขนมถ้วยฟูเป็นสีแดง ใช้ไหว้เจ้าหรืองานมงคลต่างๆนิยมใช้สีชมพู ใช้ในงานอวมงคล หรือไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนิยมใช้สีขาว ในปัจจุบันยังหาทานได้ง่าย มีหลากหลายสี เช่น ชมพู เขียว ขาว ฟ้า
ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
5. ขนมสาลี่
ขนมสาลี่ ชื่อภาษาจีน 發糕 หรือ 发糕 (ฟาเกา) หรือ Prosperity Cakes ที่ได้นามว่าขนมแห่งความรุ่งเรืองเฟื่องฟู มาจากลักษณะของการพองฟูของขนมในระหว่างทำ ปกติแล้วขนมสาลี่มักใช้ประกอบสำรับในงานมงคลหรือพิธีกรรมของจีนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับวาระเฉลิมฉลองตรุษที่จะมีขนมสาลี่ร่วมอยู่ด้วย ขนาดหรือความพองตัวของขนมสาลี่แสดงถึงนัยสำคัญของความรุ่งเรืองในปีใหม่ที่กำลังมาถึง
ขนมสาลี่ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู
6. ซาลาเปาหรือหมั่นโถว
ซาลาเปา ภาษาจีนเรียก เปาจึ (包子) หรือ เปา (包) เป็นอาหารทำด้วยแป้งปั้นเป็นลูก ใส่ไส้ต่าง ๆ เช่น เนื้อ หรือผัก แล้วนึ่งให้สุก แต่ปัจจุบันอาจใช้วิธีอื่น เช่น ทอด ในวัฒนธรรมจีนยังมีอาหารที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใส่ไส้ คือ หมั่นโถว
ซาลาเปาหรือหมั่นโถว หมายถึง ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่า “ห่อโชค” การห่อเงินห่อทองให้ลูกหลาน
7. จันอับ (จั๋งอั๊บ)
จันอับ เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำจีนที่มีความหมายว่า กล่องใส่ของ กล่องบูชา หรือปิ่นโต โดยภายในกล่องจะใส่ขนมที่เรียกว่า แต้เหลี้ยว (เต่เหลียว) แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า จันอับ กลายเป็นขนมหวานอย่างแห้งของจีน
ขนมจันอับ มีมาแต่สมัยอยุธยาแล้ว มีเอกสาร จากหอหลวง หนังสือภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา บันทึกว่า มีพวกจีนมาตั้งโรงงานจันอับ อยู่ตลาดน้อย ใกล้ประตูช่องกุดท่าเรือจ้างข้ามไปวัดพนัญเชิง
จันอับในสมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงขนม 6 อย่าง มีรายชื่อในพระราชบัญญัติอากรจันอับ ร.ศ. 111 ดังนี้คือ กรวด, ฟัก, ถั่วก้อน, ถั่วตัด, งาตัด, โซถึง, ปั้นล่ำ, ก้านบัว, ขิงเคี่ยว, น้ำตาลทราย, ขนมเปี๊ยะ, ข้าวพอง, ตังเม, ถั่วงา, ขนมโก๋ทำด้วยแป้งขาวแป้งถั่ว, วุ้นแท่ง, ตังเมหลอด, น้ำตาลทรายเคี่ยวหล่อหลอมเป็นรูปต่าง ๆ ขนมซาลาเปา ทำด้วยแป้งข้าวสาลีไพ่กระดาษจีนเทียนไขเนื้อ แต่เอกสารบางเล่มเรียกขนมจันอับเป็นภาษาจีนว่า “แต้เหลี้ยว” ทำให้รู้ว่าจันอับเป็นชื่อกล่องใส่ขนม ส่วนขนมในกล่องจันอับเรียกแต้เหลี้ยว มีขนม 58 อย่าง
จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
โดยสรุป การเจาะลึกเข้าไปในโลกของ ขนมตรุษจีน ซึ่งเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบจีนโบราณ เผยให้เห็นถึงความสำคัญอันล้ำลึกและเป็นมงคลที่เหนือกว่าเพียงความสุขในการทำอาหาร ขนมเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับบรรพบุรุษและการเฉลิมฉลองมรดกทางวัฒนธรรม ด้วยการกัดแต่ละครั้ง คุณจะได้มีส่วนร่วมในประเพณีที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกัน โดยผสมผสานประสาทสัมผัสของคุณเข้ากับแก่นแท้ของความกตัญญูและความเคารพ ในขณะที่คุณลิ้มรสรสชาติและเนื้อสัมผัสอันละเอียดอ่อน โปรดจำไว้ว่าอาหารอันโอชะเหล่านี้เป็นมากกว่าอาหาร แต่ยังเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเรื่องราว คำอวยพร และความรู้สึกเป็นเจ้าของ ดังนั้น ให้แก่นแท้ของ ขนมตรุษจีน ไม่เพียงแต่บำรุงต่อมรับรสของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจิตวิญญาณของคุณด้วย เมื่อคุณให้เกียรติพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และคุณค่าเหนือกาลเวลาที่ขนมเหล่านี้เป็นตัวแทน